Thread Rating:
  • 0 Vote(s) - 0 Average
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
เยือนถิ่นช่างฝีมือ" ขลุ่ยบ้านลาว " หรือชุมชนวัดไส้ไก่
Author Message
poPPie Offline
APFC or NMFC
******

Posts: 2,826
Likes Given: 23
Likes Received: 9 in 5 posts
Joined: 28 Aug 2007
Reputation: 57
#1
เยือนถิ่นช่างฝีมือ" ขลุ่ยบ้านลาว " หรือชุมชนวัดไส้ไก่
สวัสดีเพื่อนๆ ครับ
เมื่อสัปดาห์ก่อนที่เคยโพสอยากได้ขลุ่ยซัก 1 เลา เลยเป็นเหตุให้ต้องค้นคว้าใน Google ว่าจะหาซื้อได้จากที่ไหน ก็เลยไปเจอว่าในกรุงเทพเรายังมีบ้านที่ทำขลุ่ยและทำกันเป็นชุมชนเลยทีเดียว ผมจึงอยากนำเรื่องขลุ่ยไทยที่ได้ไปดูและเก็บความรู้มาแบ่งปันให้กัน

อยุ่ซอย อิสรภาพ 15 หลังสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ เขตธนบุรีแค่นี้เอง
เมื่อเลี้ยวเข้าไปก็เจอป้ายนี้แล้ว

[Image: img3557ud.jpg]

[Image: img3558z.jpg]

จอดรถเสร็จก็เดินไป ก็ได้ยินเสียงขลุ่ยลอยมาตามสายลม จากบ้านโน้นที บ้านนี้ที ผมเริ่มจะตื่นเต้นกับเสียงที่ดังและใส ที่มากระทบโสตประสาท

และผมก็มาถึงบ้านคุณลุงอุทิศ ที่ทำขลุ่ย "อิ่มบุบผา" คุณลุงรีบต้อนรับและเอ่ยปากถามว่า .. เอาๆ อยากจะรู้เรื่องอะไร

[Image: img3573.jpg]

ผมเริ่มจะอยากรู้ถึงไม้ต่างๆ ที่นำมาทำและราคา ทำไมมันถึงได้แต่กต่างกันนัก
ราคาก้มีตั้งแต่ 50บาท ไปถึง 50000 ทีเดียว

ก็สรุปออกมาว่าส่วนหนึ่งนั้คือค่ามือนั่นเองและไม้ที่หายาก และกว่าจะนำมาขึ้นเพื่อให้ได้เสียงนั้น เช่นไม้ไผ่ ไม้รวกนั้น ยังต้องผ่านกระบวนการตากแดดและเก็บเพื่อความแห้งของเนื้อไม้ ถึง5ปี10ปี เลยทีเดียว

นี่คือขลุ่ยไม้ไผ่ที่มีอายุการเก็บหรือบ่มไม้ก่อนนำมาทำ ไม่ต่ำกว่า 5 ปีเพื่อให้ไม้เซ็ตตัว สีที่เข้มคือไม้ที่มีอายุเก่า
[Image: img3562x.jpg]

นี่คือขลุ่ยที่หายากแล้วสำหรับลายสวยแบบนี้
[Image: img3571et.jpg]
เมื่อ feel in แล้วไม่ต่างจากพวกเราครับ หลับตาและบรรเลง

[Image: img3573.jpg]
ลาย(ในมือ)นี้เรียกว่า ลากดอกพิกุล ซึ่งปัจุบันหาน้อยเต็มที คนที่มีก็ไม่ขายกันแล้ว
[Image: img3570r.jpg]

ลุงอุทิศยังมีความสามารถพิเศษในการเป่าหีบปากเพลงในแนว country ถึงขนาดเคยประกวดและเล่นสถานที่ต่างๆมาแล้ว
ส่วนสไตล์การเป่า country ของลุงอุทิศ จะมีทั้ง เบส,ทำนอง และ คอร์ด ซึ่งเพลงจะมีความไพเราะและมีความสมบูรณ์
ฟังดูสนุกสนานและเร้าใจครับ น่าเอากีต้าร์ไปแจมด้วยจัง ฮ่าๆๆ Big Grin

[Image: img3560p.jpg]

วัตถุดิบถูกนำมาคัดและรอวันที่จะนำมาทำ * จะเห็นว่าบางอันยังไม่ได้เจาะรู *
[Image: img3574o.jpg]

เรียกว่าเป็นงาน Custom shop เลยทีเดียว
ระหว่างที่คุยกันไป ผมก็นำขลุ่ยที่มีอยุ่มาลองเป่า จะมีบางช่วงที่คุณลุงอุทิศช่วยเล่น ล้อ กันไปในเพลงที่ผมพอจะเล่นได้เพราะ ไม่เคยเล่นมาตั้งแต่เรียนมัธยม จนกระทั่งได้เจอเลาที่ถูกใจ แต่ .. คุณลุงไม่ขายครับ เพราะมีคนเค้าสั่งทำเอาไว้ Tongue

มันเป็นเรื่องของความถูกใจในความรู้สึก การใช้ลมที่ต่างกัน ที่แต่ละคนมีกำลังที่แตกต่างกันฯลฯ ที่ละเอียดลงไป บางคนก็ใช้ลมที่เคยชินจากขลุ่ยเลาเดิม ฯลฯ คุณลุงอุทิศ ซึ่งเป็นผู้ทำก็จะเอาขลุ่ยเลาที่ผมชอบนั้นไปลอง แล้วก็จะรู้ว่าผมนั้น ชอบ ลมแบบใดจากการฟังเสียงขลุ่ยที่ผมเป่าได้ ด้วยเหตุนี้ขลุ่ยของลุงอุทิศจึงเป็นที่ถูกใจของผู้ใช้ ก็ต้องทำให้ถูกใจแต่ละคนไป

งาน Customshop
[Image: img3575wd.jpg]
ที่ลุงอุทิศบรรจงสร้างมันออกมาด้วยใจรัก
[Image: img3578r.jpg]
งานที่รอคุณลุงสร้างสรรค์เพื่อให้วัตถุพวกนี้ มันมีเสียง
[Image: img3577r.jpg]

สุดท้ายผมก็ได้ขลุ่ยพลาสติกมาไว้ให้ลูกชายนำไปเรียน 1 เลา
และก็ได้สั่งทำขลุ่ยไม้ไผ่กับคุณลุงอุทิศอีก 1 เลา แต่ต้องรอประมาณ 10 วัน
ซึ่งทางลุงอุทิศจะไม่เก็บค่ามัดจำแต่อย่างใด ถ้าไม่ถูกใจก็ไม่ต้องซื้อเอาไป

ผมแปลกใจมากับขลุ่ยที่ทำกันอยู่หลายหลังคาเรือน แต่ทราบว่า วิธีหรือสูตรแต่ละบ้านก็แตกต่างกันออกไป แหล่งเกิดเสียง - อยุ่ที่ลิ้น รางลมหรือดาก ที่ใช้ไม้สัก และปัจจุบันนี้สามารถสั่งทำได้ทุกคีย์ ให้เป็นเสียงสากลและนำไปประยุกต์เล่นกับดนตรีสากลได้ โดยทางคุณลุงก็จะใช้จูนเนอร์วัดเสียงและต้องผ่าน QC โดยท่านเอง

ผมเองก็เพิ่งทราบว่าการเล่นขลุ่ยไทยต้องใช้มือขวาขึ้นบน ซ้ายลงล่าง เมื่อเวลาที่ไปสอบนาฏศิลปหรือจุฬานี่ เค้าจะมองจุดนี้มาก

Mr.Richard Harvey ผู้ประพันธ์เพลงระดับโลกและเล่นกับ John William ก็เป็นลูกค้าคุณลุงและสั่งขลุ่ย คีย์ C และ Bb ที่คุณลุงบรรจงทำให้ไป


---------------------------------------------------------------------------------------

เดี่ยวว่างเมื่อไหร่จะมาพูดถึงราคา ไม้ และ ลวดลายต่อนะครับ
(This post was last modified: 09-06-2010, 00:57 by poPPie.)
09-06-2010, 00:41
Find Like Post Reply


Messages In This Thread
เยือนถิ่นช่างฝีมือ" ขลุ่ยบ้านลาว " หรือชุมชนวัดไส้ไก่ - by poPPie - 09-06-2010, 00:41

Forum Jump:


Users browsing this thread: 1 Guest(s)

Contact Us | NimitGuitar | Return to Top | | Lite (Archive) Mode | RSS Syndication