Thread Rating:
  • 0 Vote(s) - 0 Average
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
University of Laughs (2004) ของมิตานิ....เรื่องตลกที่ไร้เสียงหัวเราะ
Author Message
hattaya111 Offline
Man of the Moon
******

Posts: 1,126
Likes Given: 35
Likes Received: 4 in 4 posts
Joined: 31 Mar 2009
Reputation: 54
#1
University of Laughs (2004) ของมิตานิ....เรื่องตลกที่ไร้เสียงหัวเราะ
Cool


ในสิ่งมากมายที่ผมต้องทำ ต้องใช้เวลาอันมีไม่มากนักในโลก ผมจะเลือกเป็นอย่างมาก ในงานที่ทำ คนรัก เพื่อน

เราต่างรู้ว่า ไม่มีอะไรมากนักที่เราจะเลือกได้อย่างเเท้จริง

ถ้าใครได้รู้จักกับผมพอสมควร จะได้ยินว่าผมไปหา กำลังพูดคุย หรือ เเม้นำเรื่องบางอย่างนำมาเล่าต่ออยู่บ่อยๆ จากเพื่อนนักเขียนท่านหนึ่ง


วันนี้อยากเเนะนำให้ลองอ่าน เรื่องที่เขาเขียนเล่าเรื่องภาพยนต์ย่อๆสักเรื่องหนึ่ง

เเม้จะผิดกับหลักการผมเอง ที่จะไม่เล่าเรื่องหนังสือ ถาพยนต์ใดๆให้รู้เรื่องก่อน จนทำลายจุดที่น่าค้นหา ซึ่งจะทำให้ผู้ชมไม่ได้รับอะไรบางอย่างที่น่าจะเป็น

ผมขออนุญาต นำสิ่งที่เพื่อนของผมเขียนไว้มาฝาก เพื่อนชมรมดนตรีบ้านสีฟ้าที่รักสุนทรียะเเห่งการสื่อสารด้วยนะครับ


เเม้มีสิ่งมากมายที่เราเลือกไม่ได้....

เเต่หากมีโอกาส ก็เลือกใช้เวลาที่มีคุณค่า ในสิ่งที่เราต้องการเลือกอย่างมีความสุขครับ




เรื่องตลกที่ไร้เสียงหัวเราะ
Jan 9 3:51 PM โดย เอนก จงทวีธรรม
   
นักประพันธ์นามว่าเอเมอร์สันเคยกล่าวไว้ว่า "การรับรู้ความขบขันและความตลกนั้นเป็นสายใยแห่งความเข้าใจกับผู้อื่น เสียงหัวเราะเป็นสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์ของจิตใจ เราต้องเรียนรู้ชีวิตจากเสียงหัวเราะพอๆ กับที่เรียนรู้จากหยาดน้ำตาและความกลัว"

นั่นแปลว่าน้ำตาและเสียงหัวเราะนั้น ต่างก็เป็นคู่ตรงข้ามที่สำคัญ เกื้อกูลและอยู่ร่วมกันอย่างน่าสนใจ หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป ชีวิตอาจไร้ซึ่งความหมายของการมีชีวิต คล้ายกับน้ำชาเขียวที่ถูกปรุงแต่งจนหวานเลี่ยน-ผิดลิ้น ปราศจากซึ่งรสขมที่แท้ของใบชา

ท่ามกลางความตึงเครียดของสงครามญี่ปุ่น-จีน, ญี่ปุ่น-เกาหลี และญี่ปุ่น-โซเวียตอันเยื้อยืด ช่วงต้นของฤดูใบไม้ผลิในปีค.ศ.1940 กลางเมืองอาซาคุสะ โตเกียว ยังมีการก่อเกิดขึ้นของนักเขียนบทละครเวทีหนุ่มนามว่า ซึบากิ ฮาจิเมะ ซึบากิชอบเขียนเรื่องราวรัก-ตลก-ประโลมโลกย์ ซึ่งเป็นที่ถูกอกถูกใจของประชาชนนักเสพละครเวทีในสมัยนั้น ทำให้เขาได้รับตำแหน่งมือวางอันดับหนึ่งด้านการเขียนบทละครและการกำกับของโรงละครเลื่องชื่อนามว่า "มหาวิทยาลัยแห่งเสียงหัวเราะ"

แต่ความรุ่งโรจน์ทางอาชีพของเขาก็มีอันสะดุดลง เมื่อทางการได้ส่ง 'ซาคิซากะ' ตำรวจรุ่นใหญ่จอมเฮี้ยบมานั่งแท่นเป็นเจ้าหน้าที่เซ็นเซอร์งานประพันธ์และงานวรรณกรรมทุกประเภท (เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงกับประเทศญี่ปุ่นเมื่อเกือบเจ็ดสิบปีที่แล้ว แต่คล้ายยังคงเป็นปัญหาร่วมสมัยของประเทศในแถบๆนี้) เพื่อมาจัดการทำลายงานสร้างสรรค์ทุกประเภท พูดให้เพราะหน่อยก็ต้องบอกว่า เพื่อมาเปลี่ยนแปลงงานสร้างสรรค์ทุกประเภทให้ออกไปเป็นแนวทางชาตินิยม นำเสนอเรื่องความคลั่งชาติ-คลั่งวัฒนธรรม และการโฆษณาชวนเชื่อ เป็นต้น

แรกเริ่มเดิมที ซึบากินำเสนอบทละครตลกโรแมนติกทันสมัยเรื่อง 'จูลิโอแอนด์โรเมียต' แต่ก็ถูกขอร้องแกมขู่เข็ญให้เปลี่ยนแปลงชื่อเรื่อง-ชื่อตัวละคร และเรื่องราวที่นำเสนอทั้งหมด ให้เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับชนชาวญี่ปุ่น ห้ามมีเรื่องราวของชาวตะวันตกเข้ามาข้องเกี่ยวเด็ดขาด รวมทั้งให้เพิ่มตัวละครที่เป็นตำรวจเข้าไปด้วย เพราะอธิบดีกรมตำรวจมีคำสั่งลงมา และให้ใช้ชื่อจริงของอธิบดีกรมตำรวจเป็นชื่อของตัวละครตำรวจตัวนั้น

ซึบากิถูกกลั่นแกล้งให้นำบทละครกลับไปแก้ทุกวัน-คืน เป็นเวลานานเจ็ดวัน แก้ไขเปลี่ยนแปลงมาเท่าไรก็ถูกประทับตราว่าไม่ผ่าน หนักเข้า-เขาถูกออกคำสั่งไม่ให้เขียนถึงฉากรักและฉากจูบ รวมทั้งห้ามไม่ให้บทละครตลกของเขาก่อเกิดเสียงหัวเราะแม้แต่เพียงครั้งเดียว เขาพบกับความกดดันทั้งจากกองเซ็นเซอร์และจากเพื่อนร่วมงาน นักแสดงบางกลุ่มถึงกับรุมซ้อมเขา เพราะไม่พอใจกับการแก้ไขบทละครกลับไป-กลับมาตามคำสั่งของตำรวจ ทำให้เวลาในการซ้อมการแสดงต้องเหลือน้อยลงทุกขณะ

ก่อนจะถอดใจจากอาชีพ เนื่องเพราะสถานการณ์ที่บีบบังคับ รวมทั้งการออกหมายเรียกจากกองพลทหารราบ เพื่อให้เขาเข้าเป็นทหารกองหนุนสำหรับการเตรียมพร้อมเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองของจักรวรรดิญี่ปุ่น เขาตัดสินใจเขียนบทละครขึ้นมาใหม่อีกครั้ง โดยไม่ได้สนใจคำสั่งหรือคำแนะนำของกองเซ็นเซอร์อีกต่อไป เขาเขียนอย่างที่อยากเขียน ไม่ได้สนใจว่าจะผ่านและถูกสร้างเป็นละครเวทีรึเปล่า เพราะอย่างไรเขาก็กำลังเดินทางไปสู่ความตายอยู่แล้ว (การถูกเกณฑ์ให้ไปเป็นทหารของญี่ปุ่น ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ไม่ต่างอะไรจากการถูกเกณฑ์ให้ไปตาย) ฉะนั้น..การศรัทธาและเลือกทำในสิ่งที่รักเป็นครั้งสุดท้าย อาจส่งผลเปลี่ยนแปลงใดๆต่อโลกและสังคมรอบข้างได้ไม่มากนัก แต่อย่างน้อยเขาก็ได้ลงมือทำ และได้ยืนยันความคิดว่าท้ายที่สุด 'กระบวนการก็ล้วนสำคัญกว่าเป้าหมาย'

วันสุดท้ายก่อนหน้าที่จะเดินทางไปเป็นทหารเกณฑ์ เขานำบทละครที่แต่งขึ้นใหม่มาให้ซาคิซากะอ่าน ซาคิซากะบอกกับเขาว่า 'อ่านแล้วเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะแบบนี้ คงจะให้ผ่านไม่ได้หรอก'
เขาบอกว่า 'ผ่านไม่ผ่านคงไม่ได้สำคัญอะไรแล้ว ผมกำลังจะต้องไปเป็นทหาร และโรงละครก็กำลังจะถูกปิดลง แต่สิ่งที่สำคัญคือ ผมดีใจที่ได้เห็นคุณหัวเราะอย่างมีความสุข' ตำรวจผู้เคร่งขรึม-บ้าอำนาจและไม่เคยสัมผัสกับเสียงหัวเราะมาก่อนเลยในชีวิต จำต้องหลั่งน้ำตาด้วยความซาบซึ้งอย่างมีความสุข พร้อมทั้งกล่าวคำอวยพรให้ซึบากิรักษาชีวิตให้รอดกลับมาได้ เพื่อจะได้มาทำละครเรื่องนี้ให้สำเร็จลุล่วง..

ใครบางคนเคยกล่าวเอาไว้ว่า 'เสียงหัวเราะทำให้ชีวิตยืนยาว' แล้วน้ำตาละ..น้ำตาทำให้ชีวิตเราหดสั้นลงเหรอ ผมไม่เคยเชื่ออย่างนั้นเลย เพราะหลังจากความเหือดแห้งของหยาดน้ำตา ชีวิตและจิตใจมักจะได้พบเจอกับทางใหม่ที่สว่างขึ้นเสมอ คล้ายรสขมของหยูกยาที่กลั่นมาเยียวยารักษาจิตใจของเราให้ฟื้นฟู-เติบโตได้อย่างเป็นธรรมชาติ ดังนั้น..การมีชีวิตสั้นหรือยืนยาวของซึบากิก็คงไม่ได้สำคัญไปกว่าเส้นทางระหว่างชีวิต-บนเส้นทางนั้นเขาได้เรียนรู้และเข้าใจการมีชีวิตได้มากน้อยเพียงไร...

อ้างอิงจาก University of Laughs (2004) ของมิตานิ

ข้างล่างนี้ ผมไปค้นมาเพิ่มนะครับ เผื่อจะได้ข้อมูลละเอียดขึ้น    

AKA: Warai no Daigaku
Year: 2004

Director: Mamoru Hoshi

Writer: Koki Mitani

Cast: Koji Yakusho, Goro Inagaki

The Skinny: A beleaguered comedy troupe writer must go toe-to-toe with a strict government censor in this hilarious, ultimately touching film from director Mamoru Hoshi. Based on Koki Mitani's hit play of the same name.
Review
by Sanjuro: While comedy always runs the risk of being lost in translation, Mamoru Hoshi's University of Laughs suffers from no such problem. Based on the popular 1996 stage play by Koko Mitani, this adaptation makes a successful leap to the big screen and is sure to have audiences rolling in the aisles, no matter what their national origin may be. Also, while the film never fails to entertain, it allows its audience to consider the deeper issues at the heart of all the punchlines, a trait which gives the film a greater sense of substantive heft than most comedies nowadays.
Set in 1940 Japan, the movie centers on seven days in the life of Hajime Tsubaki (SMAP's Goro Inagaki), a jittery, but earnest writer/director for an Asakusa comedy troupe who is obligated by law to submit his latest script for government approval before it can be performed in public. This normally wouldn't be much of a problem since Tsubaki's previous visits to the censor have resulted in approval with only minor edits. But this time around, our hero faces a rather challenging obstacle.
Unfortunately for the hapless writer, there's a new sheriff in town in the form of Mutsuo Sakisaka (the great Koji Yakusho), a hard-nosed police censor with a big axe to grind with purveyors of "lowbrow" entertainment. Unimpressed and even furious with some of the liberties Tsubaki has taken in his script, Sakisaka mercilessly points out the "faults" of the play, believing them to be too extensive to be revised. Although other writers might have refused to alter their work due to artistic reasons, Tsubaki has no such qualms since he clearly prescribes to the belief that "the show must go on." Thus, he pleads with Sakisaka, who eventually agrees to allow him another chance, suggesting that the playwright make certain key changes and come back the next day. And so begins a seven day battle of wits between the two men that eventually blossoms into the unlikeliest of partnerships.
Although the first few meetings begin with the seemingly humorless Sakisaka making unreasonable demands, Tsubaki soon realizes the stoic official has a talent for comedy. With each passing visit, Sakisaka transforms from censor to de facto script doctor, evaluating the play less for its possible inflammatory content and more on its comedic value. Although he seemingly cannot comprehend humor, he makes several important observations, often considering the character's motivation and whether certain actions make sense within the plot. Consequently, Tsubaki's parody of Romeo and Juliet - which seems funny on its own - becomes even funnier thanks to Sakisaka's unconventional help. Although frustrated by the process, Tsubaki soon learns that when an artist is forced to work within constraints, he can sometimes create something ten times better than he ever could when he had complete artistic freedom. But even as this partnership flourishes into something wonderful, the specter of the outside world threatens to destroy it all.
Since University of Laughs is essentially a movie about two guys in a room talking, the success of the film hangs heavily on the performances of its leads, and thankfully, they both come through in spades. The film boasts a fantastic acting turn from Koji Yakusho, who is more than worthy of the accolades thrown his way in regard to this film. Smartly, his character is neither written nor performed as a fool, as one might expect in a film in which an artist battles against an authority figure. Similarly, Sakisaka is not a one-note bad guy, but instead a complicated, yet inherently good human being, one who comes to respect and even like Tsubaki, but must battle against his own loyalties and personal hang-ups to successfully maintain this wholly unexpected "friendship."
Goro Inagaki serves as an effective foil to the often stern-faced Koji Yakusho. Although his character is willing to accommodate the censor's demands, Inagaki makes sure to show that his character is fighting it all the way. And thus, his character should not be seen as a complete pushover, just a comic in a never-ending pursuit of a laugh, who adapts to this situation in the hopes of making his script even stronger. In that respect, he bears the hallmarks of a true artist, or as the movie explains, one particular kind of artist. Although Sakisaka makes the greater personal journey in terms of character growth and is therefore much more interesting, Tsubaki is very much integral to the film, and Inagaki holds his own with veteran actor Yakusho. By the end, both actors have charmed the audience and earned an equal share of the laughs thanks to their always entertaining verbal by-play.
Of course, the underlying social issues that are central to this movie cannot be ignored, nor should they be. Considering its content, the film seems eerily timely, as the idea of a government stamping out freedom of expression in the name of wartime concerns will register with many viewers across the globe. This social commentary informs the emotional journey that happens right underneath our noses as the film progresses. The burgeoning friendship between Sakisaka and Tsubaki climaxes in the film's poignant final scene. Here, the reality of war, which until then had only been something that existed outside the walls of their meeting room hits frighteningly close to home. The emotional pull of these scenes is well-earned and laces the finale with a sense of hope despite its open-endedness.
Although most audiences don't go to a comedy to be moved, University of Laughs works as a great exception to this rule. You'll laugh, you'll cry, and you'll definitely be glad you took the time to watch it. To borrow the censor's terminology: University of Laughs is approved, no edits necessary. (Sanjuro 2005)



Awards: 2005 Japan Academy Prize
? Nomination - Outstanding Performance by an Actor in a Leading Role (Koji Yakusho)
? Nomination - Screenplay of the Year (Koki Mitani


มีเขียนไว้โดยคนอื่นๆอีก ในเชิงเรื่องย่อเเบบ เรื่องย่อจริงๆเชิงรายละเอียดข้อมูล
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id...=1&gblog=7


มีเรื่องที่เอนกเขียนไว้อีกมากลงไว้ที่นี่ สนใจตามอ่านได้ครับ
http://www.hi5.com/friend/profile/displa...=296425025
............. ;?? ?..............
*.:??*Parradee ...A Journey of Us - ?.:* *.:??*?;??

อย่าไปเอาอะไรกับนักเขียนนิยาย

(This post was last modified: 01-02-2009, 10:24 by hattaya111.)
01-02-2009, 10:01
Website Find Like Post Reply


Forum Jump:


Users browsing this thread: 1 Guest(s)

Contact Us | NimitGuitar | Return to Top | | Lite (Archive) Mode | RSS Syndication