Thread Rating:
  • 0 Vote(s) - 0 Average
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
นำมาเล่าสู่กันฟัง กับ Simpson Guitar, Handmade by Jason Simpson
Author Message
Olanla Offline
Member
***

Posts: 221
Likes Given: 211
Likes Received: 43 in 23 posts
Joined: 06 Sep 2011
Reputation: 3
#1
นำมาเล่าสู่กันฟัง กับ Simpson Guitar, Handmade by Jason Simpson
เนื่องด้วยช่วงนี้บ้านฟ้าเงียบมาก น้าๆแต่ละคนคงซุ่มหากีตาร์กันอยู่แน่ๆเลย
ส่วนผมก็กำลังรอ Simpson guitar ที่หามาตลอดสองปีมาถึง เลยอยากมาเล่าเกี่ยวกับช่างในดวงใจคนนี้ซักหน่อยครับ ช่างคนนี้มีชื่อว่า Jason Simpson

(รูปทั้งหมดต่อไปนี้ไม่ใช้รูปของกีตาร์ผมนะครับ)

[Image: qd0m.jpg]
.
[Image: mvl8.jpg]

ผมเชื่อว่าเกือบทุกคน(ถ้าไม่ทุกคน)ในนี้คงไม่รู้จัก Jason Simpson
Jason Simpson เป็นช่างทำกีตาร์รุ่นใหม่จาก Texas, USA ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น Master Luthier คนหนึ่งเลยทีเดียว แต่สาเหตุที่เขายังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างก็เพราะเขาเป็นช่างรุ่นใหม่ที่ทำกีตาร์ออกมาเพียงแค่ปีละประมาณ 12 ตัวเท่านั้นเพราะเขาต้องการที่จะตั้งใจทำแต่ละตัวอย่างสุดความสามารถ และกีตาร์ของเค้าน้อยมากที่หลุดมายังตลาดกีตาร์มือสองในอเมริกา เพราะว่ามันยังมีน้อยและมันดีจนไม่ค่อยมีใครคิดจะขาย ใน Ebay นี่ไม่ต้องหาเลย เสียเวลาพิมพ์เปล่าๆ (แต่ผมก็เสียเวลามาตลอดสองปี เลยรู้ว่ามันไม่มี 555)

ตอนนี้ Simpson มี 2 ทรงคือ SJ (Small Jumbo) ออกแบบสำหรับ Fingerstyle โดยเฉพาะ และ GA (Grand Auditorium) ที่เหมือนมีกีตาร์หลายๆตัวในตัวเดียวเพราะมันเล่นได้ดีทุกไสตล์

ทุกคนอธิบายกีตาร์ไปในทางเดียวกันว่า “rich and full with deep resonance and sustain”, “very musical”, “like a piano” กับประโยคเด็ดลงท้ายของหลายๆคนว่า “You will not be disappointed with a Simpson guitar”

อันนี้คือ review ทรง SJ จาก Margaret Becker ให้กับ GuitarGallery เธอสรุปเป็นสามคำสั้นๆว่า “powerful, balance and beautiful”



นี่คือเว็ปไซต์ของเค้าครับ http://www.simpsonguitars.com

ในเว็ปไซต์เค้ายังมีวีดีโอพาทำกีตาร์ในหลายๆส่วนอีกด้วย ถ้าใครชอบการทำกีตาร์คงดูสนุกและได้ความรู้ทีเดียว
http://www.simpsonguitars.com/intstructional

อันนี้เป็นวีดีโอขั้นตอนรวมๆอย่างคร่าวๆ



ประวัติคร่าวๆ

ความสนใจในกีตาร์ของ Jason Simpson เริ่มต้นขึ้นเมื่อตอนเค้ายังเด็ก เค้าได้ฟังพ่อเล่นเพลงของ Chet Atkins ผ่านกีตาร์ Gretch “Country Gentleman” พ่อเค้าได้สอนเค้าเล่นกีตาร์ตั้งแต่เด็กซึ่งทำให้เค้ารักทั้งการเล่นกีตาร์และตัวกีตาร์เองมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีความรักที่เค้ามีต่อกีตาร์ได้เติบโตขึ้นจนในที่สุดเค้าก็ได้รู้จักกับทางที่จะแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ซึ่งก็คือผ่านทางศิลปะการสร้างกีตาร์นั่นเอง เค้าฝันมาตลอดที่จะใช้ความคิดสร้างสรรค์ของเค้าในการทำอะไรที่ไม่เหมือนใคร ตอนเค้าอายุ 20 ปีเค้าได้อ่านบทความในนิตยสารบทความหนึ่งซึ่งได้เปลี่ยนชีวิตเค้าไปตลอดกาล ในวันนั้นเค้าได้ค้นพบเกี่ยวกับ custom acoustic guitar และจากนั้นเองที่หนทางแห่งความฝันของเค้าได้เริ่มขึ้น การทำกีตาร์คือศิลปะในฝันของเค้าเพราะว่ากีตาร์นั้นสามารถกระตุ้นสัมผัสของมนุษย์ได้หลายๆสัมผัส ทั้งการมองเห็น รู้สึก ได้ยิน รวมไปถึงการดม มันเป็นงานศิลปะที่มีพลังที่จะจุดประกายให้ทั้งหัวใจ ความคิด ร่างกาย และจิตวิญญาณ

เค้าเริ่มโดยการศึกษาด้วยตัวเองผ่านการศึกษาผลงานของ Ervin Somogyi และ William Cumpiano ประสบการ์ที่สั่งสมมาหลายๆปีรวมถึงการช่วยเหลือจากช่างฝีมือเยี่ยมคนอื่นๆเช่น Kevin Ryan ได้หล่อหลอมให้เค้าเป็นช่างทำกีตาร์ในแบบที่เค้าเป็นทุกวันนี้ จากการสร้างกีตาร์ตัวแรกในปี 1996 จนถึงทุกวันนี้เป้าหมายของเค้าคือการที่จะสร้างกีตาร์ที่ดีที่สุดที่เค้าสามารถสร้างได้โดยตั้งมาตรฐานของตัวเองไว้เทียบเท่ากับของเหล่าช่างที่เก่งที่สุดในโลก เค้าเป็นคนที่รักความสมบูรณ์แบบและไล่ตามศักยภาพที่สูงทั้งในด้านเสียง คุณภาพงาน สรีระ และความสวยงาม เค้าสร้างกีตาร์แค่ประมาณปีละ 12-14 ตัวเพราะต้องการที่จะตั้งใจทำแต่ละตัวให้ออกมาดีที่สุด ในขณะที่เค้าเคารพใน Tradtion แต่ก็ไม่ใช่คนที่จะทำตามแต่ Tradition อย่างเดียว เค้าจะหยุดอยู่กับ Tradition ก็ต่อเมื่อได้พิสูจน์แล้วว่าไม่มีอะไรที่ดีไปกว่านั้นแล้ว ซึ่งนี่ก็คือเหตผลที่ทำให้เราเห็นความเป็นสมัยใหม่มากมายในกีตาร์ของเค้า


ผมจะขอแปลในส่วน About My Guitar ในเว็บเค้าแบบคร่าวๆนะครับว่าเค้าคิดกับกีตาร์เค้ายังไงและเค้าใช้เทคนิคอะไรบ้าง (ถ้าผมแปลผิดยังไงก็บอกได้นะครับ)


About my guitar
เค้าเปรียบกีตาร์ของเค้าเหมือนกับ sports cars (เช่นเฟอรารี่) ซึ่งมีความแม่นยำ ศักยภาพสูง พลัง ความงดงาม และความทันสมัย เค้าให้ความสำคัญกับการออกแบบเพื่อสร้างกีตาร์ที่มีศักยภาพสูง เป็นคนชอบไล่ตามไอเดียใหม่ๆเพื่อนพัฒนางานของเค้าไปเรื่อยๆเพื่อที่จะสนองความต้องการของผู้เล่นที่เก่งขึ้นเรื่อยๆเช่นเดียวกัน เค้าสร้างกีตาร์สำหรับคนที่ชอบเล่นกีตาร์อย่างจริงจังและต้องการมากกว่าสิ่งที่โรงงานสามารถทำให้ได้

Climate Control
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างกีตาร์คือการควบคุมสภาพแวดล้อม กีตาร์ก็เหมือนฟองน้ำที่พองเวลาอากาศชื้นและหดเวลาอากาศแห้ง ดังนั้นเค้าจึงทำกีตาร์ในห้องที่มีความชื้น 45% ซึ่งเป็นตรงกลางพอดี เวลากีตาร์ไปเจอที่ๆมีความชื้นมากหรือน้อยกว่าก็จะได้เสียหายน้อยที่สุด

Material
เค้าใช้เฉพาะวัสดุที่ดีที่สุดจากการเฟ้นหามาอย่างระมัดระวัง ไม่ว่าจะเป็นไม้หน้า/ข้าง/หลัง braces tuners kerfing หรือแม้แต่ bridge pins จะไม่มีการยั้งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เด็ดขาด เพราะคุณภาพของวัสดุเป็นรากฐานของกีตาร์ที่ยอดเยี่ยม และนอกจากนั้น ไม้ทุกอันที่เค้าใช้ได้ผ่านการทำให้แห้งมาอย่างดีและถูกเก็บใน workshop ของเค้าเพื่อรักษาสภาพที่ดีที่สุด

Elevated Fretboard
จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำ elevated fretboard ก็เพื่อที่จะรักษาความตรงและมั่นคงของเฟรตบอร์ดตลอดอายุกีตาร์ เมื่อเวลาผ่านไป คอกีตาร์ทุกตัวจะโค้งและท้องจะนูนขึ้นเนื่องจากแรงดึงของสาย ซึ่งอาจทำให้ action สูงขึ้นเกินกว่าที่จะฝน saddle ได้อีก ถ้าเป็นแบบนั้นก็ต้องทำ neck reset อย่างเดียว สำหรับกีตาร์แบบเก่า คอจะถูกติดกาวเข้ากับตัวกีตาร์ซึ่งทำให้เกิดปัญหาอย่างน้อย 2 อย่างคือ 1)จะถอดคอออกมาทำ neck reset ยากมาก และอาจทำให้กีตาร์เสียหาย 2)การทำ neck reset แล้วติดกลับเข้าไปใหม่อาจทำให้เกิด “fall-off” ซึ่งก็คือการที่มุมของ fretboard ส่วนที่อยู่บน body แตกต่างจากส่วนที่อยู่บนคอ ซึ่งข้อดีของเฟรตบอร์ดลอยคือไม่มีการใช้กาวติดคอเข้ากับกีตาร์ตั้งแต่เฟรตที่ 14 เป็นต้นไป ทำให้คอของกีตาร์ตรงได้นาน (ถ้าเป็นแบบเก่า เวลาคองอ fingerboard ส่วนที่อยู่บนตัวกีตาร์ก็จะไม่งอไปตามคอ เพราะมันถูกยึดติดกับ top อยู่ แต่ถ้าเป็นแบบลอย เวลาโดนดึงนานๆ fretboard มันก็ไม่งอเพราะมันเผื่อช่องว่างระหว่างมันกับtopไว้สำหรับการถูกดึงแล้ว) และถ้าต้องการทำ neck reset ก็สามารถถอดคอได้ในเวลาไม่กี่นาทีเพื่อนำมาฝน heel และก็ติดกลับเข้าไปได้อย่างง่ายดาย (ขอเสริมว่า Elevated Fretboard ถูกใช้กับหลายยี่ห้อมาก เช่น Mcpherson เป็นต้น เค้าให้อีกเหตผลนึงไว้ว่าจะทำให้ไม้หน้าสั่นได้เต็มที่โดยไม่มี fingerboard มาขวางการสั่นมัน)

[Image: r6r5.jpg]


Ethereal Bracing System
ไม้หน้าถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดสำหรับเสียงของกีตาร์ ซึ่งมีตัวแปรอยู่หลายอย่างเช่นน้ำหนัก ความแข็ง การเข้าคู่ และตำแหน่งbracing เค้าได้สร้างรูปแบบ bracing ที่ “light and responsive yet strong and stable” ไม้ทำ bracing จะถูกเจาะรูที่ได้ออกแบบมาอย่างดีเพื่อลดมวลไม้แต่ความแข็งแรงยังคงเดิม และตำแหน่ง bracing ก็ได้ถูกออกแบบมาเพื่อ “maximize 3 main vibrational modes” ของกีตาร์ เพื่อให้เกิดเสียงที่ “balanced, focused, sweet and powerful sound that boasts plenty of headroom”

[Image: zpii.jpg]


Asymmetrical Fan Bracing
เค้ารูปแบบ bracing นี้ใช้กับไม้หลังเพื่อที่จะก่อให้เกิด overtone ที่ไพเราะที่สามารถเสริมความถี่ย่านกลางและสูงจากไม้ bracing นี้จะคล้ายกับไม้ของพัดที่คลี่ออกโดยด้านสายเสียงสูงเป็นหัวพัดและด้านสายเสียงต่ำเป็นปลายพัด

Graphite Reinforced Neck
เพื่อที่จะให้คอแข็งแรงและตรงนานที่สุด เค้าประกบแท่งกราไฟท์ไว้ทั้งสองด้านของ trust rod ซึ่งช่วยให้คอแข็งแรงขึ้นมากและยังช่วยถ่ายโอนพลังงานสายไปยังบริจเพื่อไปยังไม้หน้าอีกทีแทนที่จะถูกดูดซึมไปกับคอ และแม้ว่าเวลาจะผ่านไปนาน คอที่เสริมแท่งกราไฟท์จะงอยากกว่าอยากกว่าคอที่ไม่มีการเสริมมาก

Armrest Bovel
ถ้าคุณเล่นกีตาร์เป็นเวลานาน คุณจะสังเกตได้ถึงความไม่สบายหรืออาการชาจากการที่แขนขวาวางอยู่บนมุมของกีตาร์ Armrest นี้มีไว้เพื่อช่วยในเรื่องนั้น โดยที่เค้าได้ผสมผสานรูปแบบ Armrest ของ Grit Laskin และ Kevin Ryan ซึ่งเป็นช่างสองคนแรกที่เริ่มทำ กับความคิดของเค้าเองจนออกมาเป็น Armrest ที่ให้ความสบายและสวยงาม



ปิดท้ายด้วยรูปแบบรัวๆ

http://www.simpsonguitars.com/portfolio/...rettyPhoto

[Image: wl2c.png]

[Image: s2cm.jpg]

[Image: mqdf.jpg]

[Image: ujlp.jpg]

[Image: gyxd.jpg]

[Image: akqg.jpg]
06-08-2013, 03:53
Find Like Post Reply
[-] The following 8 users Like Olanla's post:
povation (06-08-2013), SARUN (06-08-2013), parker1713 (06-08-2013), napman (06-08-2013), karn (06-08-2013), acidjazz (08-08-2013), surasakluang (03-09-2013), Taylor814aura (26-06-2014)


Messages In This Thread
นำมาเล่าสู่กันฟัง กับ Simpson Guitar, Handmade by Jason Simpson - by Olanla - 06-08-2013, 03:53

Forum Jump:


Users browsing this thread: 2 Guest(s)

Contact Us | NimitGuitar | Return to Top | | Lite (Archive) Mode | RSS Syndication