ประวัติ ปิ้คอัพกีตาร์โปร่ง
ในยุคแรกๆนั้นการขยายเสียงกีตาร์โปร่งถ้าไม่ใช้ไมค์จ่อก็ต้องใช้ magnetic pickup ของกีตาร์ไฟฟ้าซึ่งก็ให้เสียงออกมาคล้ายกีตาร์ไฟฟ้านั่นเอง
Gibson J-160E ใช้ P-90 single coil pickup ติดเหนือ soundhole
Martin D-28E ใช้ DeArmond single coil pickups
ต่อมาในปี 1970 กีตาร์น้องใหม่คือ Ovation ก็ใด้คิดค้นระบบ UST (under-saddle transducer) มาวางตลาด ระบบนี้ใช้ piezo-electric crystal หกตัวในกล่องที่วางใต้ saddle เป็นตัวรับสัญญาณและขยายด้วย preamp ในตัวกีตาร์ซึ่งมี feedback น้อยกว่าและให้เสียงเหมือนจริงกว่า magnetic pickup ในรุ่นบุกเบิกมากมาย ระบบของ Ovation นั้นจำเป็นต้องติดตั้งตอนประกอบกีตาร์ในโรงงานและไม่สามารถเอามาใช้กับกีตาร์ยี่ห้ออื่นใด้ง่ายๆ ฝรั่งเขาเรียกระบบเห็นแก่ตัวประเภทนี้ว่า "proprietary system" ซึ่งน่าจะแปลใด้ว่า "ระบบเฉพาะตัว" ครับ
บริษัทที่สองที่หันมาเอาดีกับโปร่งไฟฟ้าก็คือ Takamine ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องบังเอฺิญเพราะ Ovation เข้าไปซื้อหุ้นและจัดจำหน่ายยี่ห้อนี้ตั้งแต่ปี 1966 แล้ว Takamine เรียกระบบของตัวเองว่า Palathetic System และออกวางตลาดตั้งแต่ปี 1978 เป็นเรื่องน่าทึ่งที่ทั้ง Ovation และ Takamine ไม่เคยเปลี่ยนระบบ pickup เลยจนถึงทุกวันนี้แต่จะเปลี่ยนตัว preamp ไปตามเทคโนโลยี่ใหม่ๆเท่านั้นครับ (ในรูปข้างล่างมีระบบของ Maton อยู่ด้วยเพราะเป็นระบบเดียวกัน)
ในยุคปลาย '70s ต้น '80s นั้นกีตาร์อเมริกันยี่ห้ออื่นก็ยอมแพ้ Ovation กันหมดในเรื่องโปร่งไฟฟ้า ผลก็คือตั้งแต่ยุคปลาย '70s จนถึงยุคต้น 90s นั้น Ovation มียอดขายเป็นอันดับหนึ่งของกีตาร์อเมริกัน ส่วนกีตาร์ญี่ปุ่นนั้นเขาไม่ยอมให้ Takamine เอาตลาดไปครองแต่ผู้เดียวแน่นอน Yamaha ก็เลยออกระบบเฉพาะตัวที่ใช้ piezo 6 ชิ้นมาในปี 1980 และยังออกระบบ blend ที่ใช้ไมค์เข้ามาเสริมเป็นครั้งแรกในโลก (System 3) ในปี 1981
K. Yairi ก็ออก proprietary pickup system มาในปี 1981 โดยใช้ระบบแยกหกชิ้นเหมือนกันครับ
กำเนิดของ AFTERMARKET PICKUP SYSTEM
ในปี 1978 ช่างทำกีตาร์ชื่อดังคือ Lloyd Baggs ใด้มีโอกาสฟังเสียง pickup ของ Takamine และเกืดประทับใจจนเลิกทำกีตาร์แล้วหันมาเอาดีทางการผลิต pickup แทน pickup รุ่นแรกๆของเขาก็ใช้ piezo แยกหกชิ้นเหมือนกันครับแต่เอามาติดตั้งภายหลังใด้ ลองฟังเขาเล่าเรื่องราวในคลิปนี้ครับ
ในตอนนั้น Takamine กำลังหารูปแบบ headstock ใหม่เพราะโดน Martin ขอร้องให้เลิกใช้ headstock ที่ก้อป Martin 100% เสียที Mass Hirade ก็เลยขอเอา Headstock ของกีตาร์ LR Baggs ไปใช้และใช้มาจนถึงทุกวันนี้
สรุปว่า LR Baggs pickup ก็แจ้งเกิดใด้เพราะ Takamine และ Takamine ก็รอดจากการโดนฟ้องใด้เพราะ LR Baggs ครับ
คนที่คิดค้นระบบ piezo แบบชิ้นเดียวทีสามารถติดตั้งภายหลังใด้สำเร็จก็คือ Larry Fishman ในปี 1981 จากการสนับสนุนของโรงงาน Guild และ Martin ครับ
http://www.namm.org/library/oral-history/larry-fishman
ในยุคแรกๆนั้นพวก aftermarket pickups นั้นยังไม่มีทางจะสู้กับปิ้คอัพเฉพาะตัวใด้ทั้งในเรื่องเสียงและความทนทาน ดังนั้นในยุค '80s. '90s ตลาดของกีตาร์โปร่งไฟฟ้าจึงตกเป็นของ Ovation และต่อมาก็เป็นของ Takamine ซึ่งใด้รับความนิยมจากมืออาชีพมากกว่าเพราะทำด้วยไม้ทั้งตัว
พอมาถึงยุค 2000s นี่พวก aftermarket เขาก็พัฒนามาจนใด้ประสิทธิภาพไกล้เคียงกับระบบเฉพาะตัวแล้วแถมยังหาเปลี่ยนใด้ง่ายกว่าถ้าเสียขึ้นมาอีกด้วย ความนิยมของกีตาร์โปร่งไฟฟ้า Ovation และ Takamine จึงเริ่มถดถอยลงไป
ทุกวันนี้แม้แต่เจ้าที่ใช้ระบบเฉพาะตัวมานานอย่าง K. Yairi ก็ยังเปลี่ยนมาใช้ระบบ aftermarket ของ Fishman, LR Baggs และ Roland แล้วครับ มีอยู่ยี่ห้อเดียวที่พัฒนาระบบของตัวเองขึ้นมาใหม่ก็คือ Taylor ครับ
เรื่องน่ารู้ของการติดตั้ง pickup ให้กีตาร์โปร่ง
ผมเป็นคนที่ชอบติด pickup ให้กับกีต้าร์โปร่งมายี่สิบกว่าปีแล้วครับ เสียเงินซื้อความรู้มาก็เยอะมาก ตอนนี้ก็เลยขอถ่ายทอดความรู้และประสพการณ์ให้กับน้องๆที่มีความต้องการจะเปลี่ยนกีต้าร์ตัวเองให้เป็นโปร่งไฟฟ้าหรือต้องการปรับปรุงเสียงของออกแอมป์ของกีต้าร์ของคุณให้ดีขึ้น
Pickup สำหรับกีต้าร์โปร่งนั้นแบ่งใด้เป็นสามประเภท ประเภทแรกคือ magnetic pickup แบบคาด sound hole อย่าง Fishman Rare Earth หรือ LR Baggs M1 ประเภทที่สองคือแบบติดใต้ bridge (SBT) อย่างเช่น LR Baggs Ibeam หรือ K&K Western ส่วนประเภทสุดท้ายที่นิยมกันมากที่สุดคือประเภท UST (under the saddle) ที่ติดตั้งใต้ saddle ครับ Pickup ทั้งสามประเภทมีทั้งแบบ active ที่ใช้ถ่านและแบบ passive แบบ passive นั้นราคาถูกกว่าแต่สัญญาณอ่อนกว่าซึ่งถ้าใช้สายแจ้คยาวเกินสามเมตรก็ควรใช้ preamp ก้อนหรือ DI box มาช่วยขยายสัญญาณ
Under Saddle Transducer (UST)
ลองมาดูกันก่อนว่า UST นั้นมีอยู่กี่แบบครับ
1. แบบสายถักกลม.....Highlander, Fishman Sonicore OEM
แบบนี้ติดตั้งยากสุดครับ Highlander จะขายผ่านร้านที่ติดตั้งเป็นเท่านั้นส่วน Fishman นั้นไม่ขายปลีกแต่จะติดตั้งที่โรงงานอย่างเดียวเลยแต่ก็ยังมีพ่อค้าจีนแอบเอามาขายในอีเบย์ Fishman ที่ใช้ Sonicore สายถักมีหลายรุ่นอย่างเช่นรุ่น Classic 4 หรือ Presys คนส่วนใหญ่ที่ซื้อมาติดมักจะเจอปัญหาสัญญาณไม่ balance หลังจากใช้งานไปใด้ไม่นานนัก
2.แบบสายถักแบน...... LR Baggs Element/ Anthem, DTAR Wavelength/MultiSource
แบบนิ้ตั้งง่ายกว่าแบบแรกเพราะจะไม่เซาะร่องก็ใด้แต่พอใช้ไปนานๆมีปัญหาเรื่องเสียงไม่ balance เกือบทุกตัวเท่าที่ผมเคยมี
2. แบบแผ่นแบน……B-Band, Fishman Matrix
แบบนี้ติดตั้งง่ายกว่าเพื่อนและไม่ค่อยมีปัญหาเรื่อง balance แต่มีปัญหาเรื่องจี่แทนเมื่อใช้งานไปนานๆ ปัญหานี้เกิดจากการเจาะรูที่ saddle แล้วไม่ใช้เครื่องมือลบมุมซึ่งทำให้สายสัญญาณที่ติดอยู่กับ piezo ตรงที่หักมุมโดนบีบจนพังใด้เมื่อใช้ไปนานๆ ผมเคยเจอมาแล้วหลายครั้งที่วันดีคืนดีก็จี่ขึ้นมาเฉยๆ
Pickup แบบแผ่นแบนนี่มีสองขนาดนะครับคือ narrow ( 3/32”) กับ wide ( 1/8”) ขนาดแรกใช้กับ Martin, Guild และกีต้าร์ญี่ปุ่นทุกยี่ห้อ ขนาดกว้างใช้กับ Gibson, Taylor , Larrivee
ในบ้านเรานั้นช่างส่วนใหญ่ติดตั้ง UST pickup กันแบบไม่ต้องอ่านคู่มือ เท่าที่ผมเคยเอาไปติดกับช่างชื่อดังๆมาหลายคนแล้วเขามีวิธีติดตั้งแบบนี้กันทุกคนครับ
1. เจาะรูที่ก้นเพื่อใส่แจ้ค
2. เจาะรูที่ร่อง saddle เพื่อร้อยสายจาก UST
3. วาง piezo ในร่อง saddle แล้วบัดกรีสายเข้ากับแจ้ค
4. ฝน saddle ให้เตี้ยลงเท่ากับความสูงของ piezo
5. ใส่แบต ใส่สายและลองเสียง
ค่าแรงเขาคิด 500 – 800 บาทถ้าไม่ต้องเจาะอะไรเพิ่ม ถ้าต้องเจาะใส่ preamp ด้านข้างเขาคิด 1000-1500 บาท
เมื่อก่อนนี้ผมก็คิดว่าการติดตั้งแบบข้างบนมันคือการติดตั้งที่ถูกต้อง (เพราะเห็นช่างเขาทำแบบนี้กันทุกคน) พอเกิดมีปัญหาเรื่องสายดังไม่เท่ากันหรือมีเสียงจี่ผมก็โทษ pickup ว่าคุณภาพไม่ดีและถอดทิ้งใส่รุ่นอื่นแทน คนที่ทำให้ผมตาสว่างเรื่องการติดตั้ง pickup อย่างถูกต้องตามตำราคือช่างต้าครับ
เมื่อใด้ฟังช่างต้าเล่าถึงวิธีติด UST pickup ผมก็เลยกลับไปอ่าน instruction manual ของทุกยี่ห้อดูก็เลยรู้ว่ามันไม่ใช่เรื่องหมูๆเพราะนอกจากจะต้องมีความรู้ความชำนาญแล้วยังต้องมีเครื่องมือเฉพาะด้วย มีน่าเล่าช่างอเมริกันถึงใด้คิดค่าติดตั้งห้าพันบาท ($150) แต่ช่างไทยคิดแค่ห้าร้อยเอง
เครื่องมือที่จำเป็นคือ saddle router ครับ
คราวนี้ลองมาดูวิธีติดตั้งที่ถูกต้องกันครับ ผมจะยกตัวอย่างของ piezo แบบสายถักกลมเพราะมันติดตั้งโหดสุดแต่ UST ทุกแบบก็ต้องใช้วิธีนี้เหมือนกันแต่มี margin of error ได้มากกว่านิดหน่อย
50/50 RULE:
ถ้าต้องการให้เสียงออกเท่ากันทุกสายนั้นส่วนของ saddle เหนือ bridge จะต้องมีความสูงน้อยกว่าส่วนที่อยู่ใต้ bridge เสมอ การวาง piezo โดยไม่เซาะร่องนั้นจะทำให้ saddle ส่วนใต้ bridge สั้นลงครับ ตามปกตินั้นเมื่อสายตึง saddle มันจะล้มไปด้านหน้าอยู่แล้ว ถ้าส่วนล่างยิ่งเตี้ยมันก็จะเอียงมากขึ้นทำให้แรงกดด้านตรงน้อยลง เนื่องจากแรงดึงของสายแต่ละสายมันไม่เท่ากัน สายสองมักจะเสียงเบากว่าสายอื่นเพราะแรงดึงมันน้อยสุด
จากรูปจะเห็นใด้ว่าแรงกดบน piezo นั้นขึ้นอยู่กับความสูงของ saddle ครับ ถ้าฝน saddle จนเตี้ยเกืนไปแรงกดอาจไม่พอใด้ ถ้าร่องหลวมไปก็เกิด moment เพราะ saddle มันจะเอียงทำให้แรงกดไม่พอเหมือนกัน