Thread Rating:
  • 0 Vote(s) - 0 Average
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
ความแข็งเเร็งของแล็กเกอร์ครับ
Author Message
pood Offline
VIP member
******

Posts: 6,313
Likes Given: 13
Likes Received: 390 in 213 posts
Joined: 28 Aug 2007
Reputation: 77
#2
RE: ความแข็งเเร็งของแล็กเกอร์ครับ
กีต้าร์แต่ละยี่้อเขาใช้สารเคลือบไม่เหมือนกันครับ ในสมัยโบราณนั้นเขาใช้พวก varnish ทาแล้วขัดเงาซึ่งต้องทำไไม่ต่ำกว่าสิบชั้นและเสียเวลาเป็นเดือน ต่อมาในปี 1923 Dupont ก็คิดค้นการใช้สี nitrocellulose ที่พ่นใด้เร็วขึ้น อีกสี่สิบปีต่อมาก็มีการคิดค้นสี polyurethane ที่เร็วขึ้นอีกหลายเท่าครับ

ความก้าวหน้าทั้งหมดนี่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมยานยนตร์ครับ


ความแตกต่างทางเคมีของสีพ่นรถยนต์แต่ละประเภท

สีแห้งเร็วไนโตรเซลลูโลส (Nitrocellulose)
ข้อดี
v แห้งเร็ว
v ราคาถูก

ข้อเสีย
v เนื้อสีน้อยต้องพ่นหลายเที่ยว
v ฟิล์มสีนิ่ม เป็นรอยขีดข่วยง่าย
v ความเงาต่ำ
v เสียเวลาและสิ้นเปลืองวัสดุในการขัดให้ได้ความเงา
v เมื่อถูกความร้อนจากแสงแดด ฟิล์มสีจะเกิดการอ่อนตัว
v ไม่ทนต่อรังสีอุลตราไวโอเลต (UV) จากแสงอาทิตย์
v ไม่ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี และกรดด่าง เช่นทินเนอร์ น้ำมัน
เบนซิน น้ำมันเบรค ขี้นก ผลไม้ เป็นต้น

สีแห้งช้าโพลียูเรเธน (Polyurethane)
ข้อดี
v ความเงางามสูง สวยงามมาก
v ความแข็งของฟิล์มสีสูง ทนต่อการขีดข่วน และกระแทก
v ฟิล์มสีลื่นและเรียบ ง่ายต่อการทำความสะอาด
v ทนสารเคมี และกรดด่าง เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันเบรค ทินเนอร์ ขี้นก ผลไม้ เป็นต้น
v การยึดเกาะระหว่างชั้นต่างๆของสีดีเยี่ยม ป้องกันการลอกล่อนของฟิล์มสี
v เนื้อสีมาก กลบตัวดี ทำให้จำนวนเที่ยวที่พ่นน้อยลง

ข้อเสีย
v ต้องพ่นในที่ๆปราศจากฝุ่น จึงจำเป็นต้องมีห้องพ่นสี
v ราคาสูง
v แห้งช้า

ตอนนี้่ค่ายที่ใช้ nitro ก็มี Fender USA, Martin, Gibson, Guild USA, Santa Cruz, Collings และกีต้าร์ไฮเอ็นด์ยี่ห้ออื่นๆ ส่วนค่ายที่ใช้ poly ก็มี Taylor, Ovation และกีต้าร์เอเชียเกือบทุกยี่ห้อ ครับ

(This post was last modified: 27-02-2012, 16:41 by pood.)
27-02-2012, 16:39
Find Like Post Reply


Messages In This Thread
RE: ความแข็งเเร็งของแล็กเกอร์ครับ - by pood - 27-02-2012, 16:39

Forum Jump:


Users browsing this thread: 1 Guest(s)

Contact Us | NimitGuitar | Return to Top | | Lite (Archive) Mode | RSS Syndication