NimitGuitar webboard
เสียง กับชนิดของไม้ ?? - Printable Version

+- NimitGuitar webboard (http://www.NimitGuitar.com/mybb)
+-- Forum: All solid webboard (http://www.NimitGuitar.com/mybb/forumdisplay.php?fid=1)
+--- Forum: Electric music (http://www.NimitGuitar.com/mybb/forumdisplay.php?fid=17)
+--- Thread: เสียง กับชนิดของไม้ ?? (/showthread.php?tid=7597)

Pages: 1 2 3


RE: เสียง กับชนิดของไม้ ?? - love666 - 28-07-2010

ขอบคุณน้าๆทุกคนด้วยครับ พอจะได้ไอเดียดีๆแล้วครับ Smile

แล้วพวกเมเปิ้ลแปะหน้า ลายสวยๆ ก็ไม่ค่อยมีผลกับเสียงใช่มั้ยครับ


RE: เสียง กับชนิดของไม้ ?? - dear709 - 29-07-2010

มีผลครับ
กีต้าสวยๆ ส่งผลถึงความมั่นใจของคนเล่นมากครับ

ถ้ามั่นใจแล้ว การเล่นก็จะดี และถ้าเล่นดี เสียงก็จะดีด้วยครับ Tongue


RE: เสียง กับชนิดของไม้ ?? - povation - 29-07-2010

(29-07-2010, 14:56)dear709 Wrote: มีผลครับ
กีต้าสวยๆ ส่งผลถึงความมั่นใจของคนเล่นมากครับ

ถ้ามั่นใจแล้ว การเล่นก็จะดี และถ้าเล่นดี เสียงก็จะดีด้วยครับ Tongue

ผมเห็นด้วยครับ


RE: เสียง กับชนิดของไม้ ?? - pong555 - 30-07-2010

(28-07-2010, 22:39)love666 Wrote: ขอบคุณน้าๆทุกคนด้วยครับ พอจะได้ไอเดียดีๆแล้วครับ Smile

แล้วพวกเมเปิ้ลแปะหน้า ลายสวยๆ ก็ไม่ค่อยมีผลกับเสียงใช่มั้ยครับ

ขอตอบเท่าที่รู้นะครับ...Smile

เขาเล่ากันว่า...ย้อนกลับไปที่ปีประมาณ 195.. ในยุคนั้น การทำกีต้าร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ ยังใช้ไม้มะฮอกกานีเป็นหลัก แต่ก็มีโรงงานกีต้าร์อยู่แห่งหนึ่ง ได้พยายามค้นหาวิธีที่จะลด "ความกระด้าง" (เสียง) ของไม้มะฮอกกานี ซึ่งคุณลักษณะของไม้ชนิดนี้จะให้เสียงที่พุ่ง แต่ค่อนข้างแข็ง และจากการพยายามหลายครั้งก็ได้ผลว่า "ไม้เมเปิ้ล" มีคุณสมบัติที่จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้ แต่ด้วยความที่่ว่ากว่าจะคิดขึ้นมาได้ก็ลงทุนไปหลายอยู่ จึงยังไม่อยากให้คู่แข่งทางธุรกิจได้ล่วงรู้ถึงความลับของสูตร "มะฮอกกานี + เมเปิ้ล" จึงได้ทำสีทึบทับหน้า top ไว้พร้อมกับเดิน binding ไว้ที่ขอบไม้เพื่อปกปิดไม่ให้คู่แข่งรู้ว่าใช้ไม้อะไร ล่วงมาจนกระทั่งปี 1958 จึงได้เริ่มเปิดเผยสูตรดังกล่าวโดยเริ่มทำสีปกติและพ่นแลคเกอร์เคลือบ ซึ่งโรงงานดังกล่าวก็คือ "Gibson" นั่นเอง

ดังนั้น จึงตอบคำถามว่า ไม้เมเปิ้ลที่ใช้ปะหน้ามีผลกับเสียงแน่นอนครับ แต่จะมีผลมากน้อย ขึ้นอยู่กับ "เกรด" ของไม้เป็นหลัก ส่วนลายเฟรมแบบ 3A 4A 5A นั้น เขามีไว้เพื่อแบ่งแยกความสวยงามของลายไม้ครับ ไม่ค่อยมีผลต่อเสียงเท่าไหร่ แต่มีผลต่อทางด้านจิตใจของเจ้าของมากกว่าครับ..

อ้อ...แถมอีกนิด ครั้งหนึ่งผมเคยถูกเชิญเป็นผู้บรรยายร่วมเกี่ยวกับกีต้าร์ Gibson ในตอนนั้น ตัวแทนจำหน่ายได้เชิญ Mr. Yasuhigo Iwanade (ไม่รู้เขียนถูกหรือเปล่า) ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือ "Beauty of the Burst" เป็นหนังสือเกี่ยวกับ Gibson Les Paul 1958 1959 1960 ที่โด่งดังมาก คอ Gibson ส่วนใหญ่จะมีหนังสือเล่มนี้กันทุกคน อีตา Iwanade เนี่ยแกมีประสพการณ์การทำงานกับ Gibson มายาวนาน และปัจจุบันแกเป็นคนดูแลการตลาดของ Gibson ในภาคพื้นเอเซียทั้งหมด ในครั้งนั้น แกได้มาบรรยายเกี่ยวกับที่มาที่ไป แนวความคิดและคุณลักษณะที่โดดเด่นของ Gibson Les Paul ให้พวกเราฟัง โดยในช่วงตอบคำถาม มีผู้ฟังท่านหนึ่งถามแกว่า "ระหว่าง Quilted Maple กับ Flame Maple อย่างไหนจะให้เสียงดีกว่ากัน" ซึ่งแกก็ตอบว่า ถ้าจะวัดกันเรื่อง "เนื้อเสียง" แล้ว ไม่ต่างกันครับ แต่ถ้าวัดกันเรื่อง "ความนิ่ง" ของเสียงแล้ว Flame Maple จะนิ่งกว่าเนื่องจากเกรนของไม้จะไปในทางเดียวกัน ต่างกับ Quilted Maple ที่เป็นวงๆ ไม่แน่นอน (แกบอกว่า เรื่องนี้ทาง Gibson ได้พิสูจน์มาแล้วโดยใช้เครื่องวัดความสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงมาจับกันเลยทีเดียว ซึ่งผลก็ออกมาเป็นดังกล่าว)

ขอให้มีความสุขกับการเล่นกีต้าร์ครับ...Big Grin


RE: เสียง กับชนิดของไม้ ?? - povation - 30-07-2010

ผมเผลอไปนึกถึง....เสียงกับชนิดของไม้(เรียว)
ที่ให้เสียงที่แตกต่างกันมาก และขึ้นอยู่กับจำนวนของไม้ซะด้วยสิ


RE: เสียง กับชนิดของไม้ ?? - pood - 30-07-2010

"เขาเล่ากันว่า...ย้อนกลับไปที่ปีประมาณ 195.. ในยุคนั้น การทำกีต้าร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ ยังใช้ไม้มะฮอกกานีเป็นหลัก แต่ก็มีโรงงานกีต้าร์อยู่แห่งหนึ่ง ได้พยายามค้นหาวิธีที่จะลด "ความกระด้าง" (เสียง) ของไม้มะฮอกกานี ซึ่งคุณลักษณะของไม้ชนิดนี้จะให้เสียงที่พุ่ง แต่ค่อนข้างแข็ง และจากการพยายามหลายครั้งก็ได้ผลว่า "ไม้เมเปิ้ล" มีคุณสมบัติที่จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้ แต่ด้วยความที่่ว่ากว่าจะคิดขึ้นมาได้ก็ลงทุนไปหลายอยู่ จึงยังไม่อยากให้คู่แข่งทางธุรกิจได้ล่วงรู้ถึงความลับของสูตร "มะฮอกกานี + เมเปิ้ล" จึงได้ทำสีทึบทับหน้า top ไว้พร้อมกับเดิน binding ไว้ที่ขอบไม้เพื่อปกปิดไม่ให้คู่แข่งรู้ว่าใช้ไม้อะไร ล่วงมาจนกระทั่งปี 1958 จึงได้เริ่มเปิดเผยสูตรดังกล่าวโดยเริ่มทำสีปกติและพ่นแลคเกอร์เคลือบ ซึ่งโรงงานดังกล่าวก็คือ "Gibson" นั่นเอง"

ถ้าเรื่องที่ฝรั่งเขาเล่านี้เป็นเรื่องจริงก็แสดงว่า Gibson เก็บความลับทางการค้าใด้แย่มากๆครับเพราะหลังจาก Les Paul ออกวางตลาดใด้ไม่กี่เดือน Gretsch ก็ออกรุ่น Duo Jet (6128) ที่เป็น mahogany body + maple top มาในปี 1953 แต่ Gretsch เป็น chambered body เลยเบากว่าและ twang กว่าด้วย




RE: เสียง กับชนิดของไม้ ?? - dear709 - 30-07-2010

ขออนุญาตล่มกะทู้ครับ
เพลงข้างบนเรียกว่าแนวอะไรครับ ช๊อบชอบ


RE: เสียง กับชนิดของไม้ ?? - pood - 31-07-2010

เพลงแบบนี้เขาเรียกว่าแนว "Rockabilly" ครับซึ่งเป็น slang ที่เอา Rock & Roll และ Hillbilly ที่น่าจะแปลป็นไทยใด้ว่า "พวกบ้านนอกหลังเขา" มาผสมผสานกัน Rockabilly คือต้นกำเนิดของเพลงร้อคซึ่งเป็นการเอาเพลง country มาผสมกับเพลง blues ในยุค '50s ครับ

เพลง country แบบ upbeat เป็นที่นิยมกันมานานตั้งแต่ก่อนสงครามโลกแล้วแต่ที่มาเป็นที่รู้จักของตนทั่วไปเป็นคนแรกน่าจะเป็น Hank Williams ครับ



คนต่อมาที่ผมจำใด้ว่าน่าจะเป็นคนแรกๆที่เล่นเพลงแนว rockabilly น่าจะเป็น Carl Perkins ครับ



ส่วนนักร้องที่หากินกับแนวนี้ในยุคนั้นก็มี Elvis กับ Cliff เป็นต้น



เพลง rockabilly เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้กีต้าร์ไฟฟ้าโด่งดังขึ้นมาใด้เพราะก่อนหน้านั้นเพลงเร็วจะใช้เครื่องเป่าโซโล่กันซะเป็นส่วนใหญ่ ศิลปินที่มาเพิ่มความเผ็ดร้อนให้กับเพลงสไคล์นี้โดยเอาบลูส์มาผสมก็คือ Chuck Berry ครับ



เพลง rockabilly เล่นอย่างไร มีสไตล์อะไรมาผสมผสานกันบ้างนั้นต้องรอให้น้า sarun มาตอบครับ

เพลงนี้ก็ rockabilly 100% นะครับ




RE: เสียง กับชนิดของไม้ ?? - dear709 - 31-07-2010

ขอบคุณน้า pood ครับ
เอ่อ..แล้ว Jailhouse Rock ใช่ Rockabilly มั้ยครับ เพลงโปรดครับ


RE: เสียง กับชนิดของไม้ ?? - SARUN - 31-07-2010

เพลง rockabilly เล่นอย่างไร มีสไตล์อะไรมาผสมผสานกันบ้างนั้น

ว่ากันตามที่ผมเข้าใจและนำมาใช้ตีความนะ
Rockabilly เป็นส่วนย่อยหนึ่งของดนตรีประเภท rock and roll
เป็นร๊อกประเภท 3 คอร์ด ( คือมีคอร์ด1 ,4 และ 5 ) ไม่มีเพลงช้าเลย มีแต่เพลงเร็วๆ
มีลักษณะส่วนผสมของ จังหวะกลองแบบ country music เดินเบสแบบ swing jazz แต่ใช้สำเนียง blues ในการเดินทำนอง
ซึ่งตัวดำเนินทำนองพระเอกเลยก็คือ เปียโน พระรองก็คือ กีต้าร์
เจาะจงมาที่ลักษณะ กีต้าร์ ...ถ้าตีคอร์ด ก็จับจังหวะกลองแต๊ก(Snare) เอาไว้แล้วกัน ส่วนถ้าจะSolo ต้องพยามยามนึกถึงการเลียนแบบสำเนียงเปียโนเอาไว้ คือ มักจะเล่นแบบ โน๊ตสั้นๆ ย้ำๆ กระชับและรวดเร็ว นั่นล่ะกลิ่นของ Rockabilly