NimitGuitar webboard

Full Version: Standard ''X'' Scalloped, Hybrid "X" Scalloped, A-Frame ''X'' & Standard ''X''
You're currently viewing a stripped down version of our content. View the full version with proper formatting.
Bracing ทั้งหลายทั้งแหล่นี้มันต่างกันอย่างไรเหรอครับ แล้วเสียงที่ได้มันต่างกันอย่างไรครับ ขอบคุณครับ
คำตอบอยู่นี่จ้า

http://www.martinguitar.com/guitars/feat...index.html
ขอบคุณครับ แต่ข้อมูลที่ได้มามันยังไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่เลยครับ อยากได้ประมาณว่าเสียงของแต่ละแบบมันเป็นอย่างไรน่ะครับ ขอบคุณครับ
ถ้างั้นลองอ่านกระทู้นี้ดูครับ

http://p082.ezboard.com/ftheunofficialma...3414.topic
เมื่อถามเรื่อง X-bracing ก็คงสนใจเรื่อง bracing ของไม้แผ่นหน้าของ Martin
ถ้าจะตอบแบบง่ายฯก็ต้องรู้ก่อนว่า bracing มันทำหน้าที่อะไรเสียก่อน

Bracing ทำหน้าที่เหมือนคานรับแรงดึงของสาย ถ้าแข็งแรงเกินไปไม้หน้ามันก็ไม่สั่น ถ้า
แข็งแรงไม่พอกีต้าร์ก้พังและยังต้องมาซ่อมให้ลูกค้าฟรีฯอีกต่างหาก

ในยุคทองของ Martin เขาใช้ scallopped X- bracing ต่อมาในยุค bluegrass พวกลูกค้า
ชอบใส่สายเบอร์ใหญ่ฯให้กีต้าร์เสียงดังขึ้นจน Martin ซ่อมกันไม่หวัดไม่ใหว ในยุคหลังสงคราม
Martin เลยเลิกทำ scallop เพื่อให้มันแข็งแรงขึ้น ต่อมาในยุค 60's ก็เอากลับมาใช้ใหม่ในบางรุ่น
เพราะตอนนั้นไม่มีใครใช้สายเบอร์ใหญ่กันแล้วและก็มีการเขียนเตือนใว้ด้วยว่าถ้าใช้สายเกิน medium gauge
ละก้อไม่รับประกันนะ

ส่วนเรื่องเสียงนั้นอธิบายง่ายฯใด้ดังนี้ครับ

scallopped bracing น้ำหนักจะเบากว่า standard bracing top ที่เบากว่าจะสั่นง่ายกว่าส่วน top ที่หนักกว่าจะสั่นนานกว่า
ดูตัวอย่างง่ายฯในกีต้าร์ไฟฟ้า Les Paul จะ sustain ยาวกว่า Strat เพราะหนักกว่าและยึดคอกับตัวกีต้าร์แบบติดตายแต่ Strat
หัวโน้ตคมและชัดกว่า ถ้าเป็นกีต้าร์โปร่งตา George Lowden แกเล่นประกบไม้อีกชิ้นใว้รอบ sound hole เพื่อเพิ่ม mass กีต้าร์
ของแกเลยมี sustain ยาวเป็นราวตากผ้าไง

ส่วนพวก hybrid และ A-frame ทั้งหลายนั้นเขาเอามาใช้กับ Martin series 16 ลงมาเพราะเขาใช้ mortise & tenon neck joint
เลยต้องออกแบบใหม่ไง
pood Wrote:ในยุคทองของ Martin เขาใช้ scallopped X- bracing ต่อมาในยุค bluegrass พวกลูกค้า
ชอบใส่สายเบอร์ใหญ่ฯให้กีต้าร์เสียงดังขึ้นจน Martin ซ่อมกันไม่หวัดไม่ใหว ในยุคหลังสงคราม
Martin เลยเลิกทำ scallop เพื่อให้มันแข็งแรงขึ้น ต่อมาในยุค 60's ก็เอากลับมาใช้ใหม่ในบางรุ่น
เพราะตอนนั้นไม่มีใครใช้สายเบอร์ใหญ่กันแล้วและก็มีการเขียนเตือนใว้ด้วยว่าถ้าใช้สายเกิน medium gauge
ละก้อไม่รับประกันนะ

ผมขอความรู้หน่อยครับอากฤษณ์
อย่างกรณีที่เราใส่สายใหญ่อย่าง เบอร์0.13 แล้วขึงสายไว้พร้อมเล่นตลอดเวลาโดยไม่ผ่อนสาย แต่เอาออกมาเล่นประจำ จะมีผลต่อกีต้าร์ระยะยาวไหมครับ
หรือจะรักษาตัวกีต้าร์โดยการเล่นเสร็จแล้วผ่อนสาย แล้วตั้งสายใหม่เวลาเอามาเล่นทุกครั้งครับ
ขอบพระคุณคร๊าบบบบบ
การผ่อนสายไม่มีผลเสียแน่นอนครับไม่ว่าจะใส่สายเบอร์อะไร แต่การไม่ผ่อนสายนั้น
เกิดจากความขึ้เกียจมากกว่า

ถ้าถามถึงผลเสียระยะยาวของการไม่ผ่อนสายผมว่าไม่มีนะครับแต่ผลเสียระยะสั้นถ้าความชื้น
เปลี่ยนแปลงมากอย่างเช่นกีต้าร์ที่อยู่ในห้องที่เปิดแอร์เป็นเวลานี่มีโอกาส bridge ยกครับ
ถ้าอยู่อเมริกา bridge ยกนี่เขาซ่อมให้ฟรีแต่บ้านเราไม่ฟรีครับเพราะอย่าง Martin นี่ถ้านอก
อเมริกาเขารับประกันแค่หนึ่งปี

ในต่างประเทศร้านขายกีต้าร์เขาก็ไม่เห็นผ่อนสายกันนอกจากในญี่ปุ่น ในเมืองไทยผมเคยเจอร้านเดียว
ที่ผ่อนสายใว้ถ้าเป็นกีต้าร์แพงแต่เจ้าของเขาบอกว่าเขาผ่อนเพราะไม่อยากให้พวกชอบลองมาขอเล่น
เดี๋ยวกีต้าร์เขาจะเป็นรอย ในคู่มือของบางยี่ห้อจะแนะนำให้ผ่อนสายหากจะเก็บใส่กล่องใว้นานฯ
แต่ถ้าเล่นเกือบทุกวันก็ไม่เป็นไร