NimitGuitar webboard

Full Version: Improvisation ภาคนิยาม ความหมาย...by HATTAYA
You're currently viewing a stripped down version of our content. View the full version with proper formatting.
Pages: 1 2 3 4

Improvisation


การสร้างศิลปะ บนศิลปะอีกที

เห็นหัวข้อภาษาไทย เเล้วอาจจะงงๆ ว่ามาไม้ไหนอีกหัทยา ในความคิดของผมๆคิดว่า มันน่าจะเป็นคำที่ลงตัวในคว่ามหมายเชิงปฎิบัติมากสำหรับคำนี้

วันนี้เรามาคุยกันถึง เรื่องการปฎิบัติเเสดงความคิดออกมาเเบบสดๆ อาจจะเกิดกับ สิ่งต่างๆ ไม่ว่าการเเสดงดนตรี การร้องเพลง

บางคน พลิกเเพลงนำมาใช้กับ การกระทำต่างๆ บางคนสนุกสนานกว่านั้น เอามาเรียกลักษณะวิถีอัตตะบุคคลกันไปเลย

Improvise ชีวิต......



Improvisation ในนิยาม ความหมาย

คือ การเล่นโน๊ตสร้างสรรค์ ที่ใช้ปฎิภานแสดงไหวพริบ ความรู้สึกอารมณ์ของผู้แสดง ในทันทีทันใดโดยที่ไม่ได้มีการเตรียมตัวก่อนล่วงหน้า

หรือ การเล่นโน๊ตคลาดเคลื่อนจากเมโลดี้หลักตัวเดิม ที่มีการบันทึกโน๊ตไว้ ของผู้ประพันธ์

การเล่นแบบปัจจุบันทันด่วน การด้นสด คิดเดี๋ยวนั้นเล่นเดี๋ยวนั้น อาจจะเรียกว่า เล่นเเบบใช้การคาดเดา เป็นการเดาที่มีหลักการ

การที่เราจะอิมโพรไวส์ เราจะต้องมีความรู้ เเละ ประสพการณ์ในเรื่อง บันไดเสียง Scale หรือmode พอสมควร

เข้าใจถึงระบบโครงสร้างทางเดินคอร์ด สัดส่วน จังหวะ ลักษณะทางดนตรี ที่จะร่วมบรรเลง ทั้งนี้ควรอยู่ภายใต้ความสามารถ ที่ตอบสนองระบบความคิด ให้เเสดงออกได้ดังความคิดนั้นๆ



อาจจะเเยกจำเเนกประเด็นออกมาสักนิด ในการเเสดงสดนั้น คือ

ad-lib = การเล่นทำนอง อาจรวมทั้งเนื้อร้องแทรกขึ้นมา อาจเป็นท่อน เเร๊พ คิดสดร้องเเก้ในลำตัด ร้องตอด ก่อนเข้าท่อน หรือ ออกจากท่อนเพลง

ผมขอตั้งข้อสังเกตุในความเเตกต่างว่า จะไม่ใช่ประโยคถามตอบยาวๆ จะเป็นลักษณะ ปรากฎสั้นๆเท่านั้น

ส่วน improvise = จะใช้ในการถามตอบของประโยค ที่มีความยาว เช่นท่อน solo outtro intro อารัมภบทต่างๆ ที่มีการเเสดงที่ชัดเจน

มาว่ากันเรื่องคำอื่นๆที่ใช้กันนะครับ

Ad libitum คือ คำนิยามที่เรียกใน สมัย baroque (ยุคบาโร๊ค)

by heart คือ คำที่เรียกเเบบชาวบ้าน ในปัจจุบันนิยมใช้กันน้อยลง


Ad libitum .... Ad-lib ถ้าปรากฎบนโน๊ต จะหมายถึง การตามใจผู้เล่น ผู้แสดงอาจจะปฏิบัติ ดังนี้
กระทำการเปลี่ยนแปลงจังหวะ เพิ่มหรือลดแนวของการร้อง หรือ แนวของเครื่องดนตรีแนวใดแนวหนึ่งก็ได้ เพิ่มหรือลดข้อความทางดนตรี มักจะเป็นส่วนคาเดนซา (cadenza)


ยกคำอธิบายมาสั้นๆนะครับสำหรับ(cadenza) เป็นคำที่ใช้กันในดนตรีคลาสสิค

Cadenza (It. คาเดนซา)
แนวทำนองอันสดใสรื่นเริงโอ่อวดฝีมือ มักพบในส่วนจบของการร้องเดี่ยว หรือ แสดงเครื่องดนตรีเดี่ยวในบทเพลงประเภทคอนแชร์โต้


ทีนี้เราคงพอเข้าใจในนิยามกันบ้างเเล้วนะครับ

ขอจบตอนเเรกเพียงเท่านี้

เป็นการเรียบเรียงจากประสพการณ์ตรง เเละ ข้อมูลที่ศึกษามา หากมีข้อเสนอใดๆเเก้ไข ยินดีรับไว้ปรับปรุงครับ

หากมีจุดตกหล่นผิดพลาด ขออภัยไว้ ณ.ที่นี้ด้วย


หัทยา สงวนสิน

..........


-ขออัพกระทู้ ยกตัวอย่างสักเล็กน้อยนะครับ

หลังส่งนักเรียน อยากทำให้เข้าใจขึ้น ไม่รู้ทำไง ก็อัดตะกี้เลยจากหน้าคอมพ์ Big Grinเสียงรบกวนต่างๆมากมาย ฟังเสียงบางทีคงพอเข้าใจขึ้นนะครับ

มีพูดขำๆไปนิดหน่อย เขินๆ ร้องเพี้ยน ก็อย่าถือสาครับ เเล้วจะปรับปรุงใหม่ครับ

ขอบคุณเครื่องอัดจากน้า pood ด้วยครับ


เชิญโหลดกันได้ครับพี่น้องที่เคารพCool

ตัวอย่างไฟล์เสียงประกอบ
Ad-lib
[attachment=12363]

improvise
[attachment=12364]

Cadenza หรือ ผมอาจขอเรียกว่า outtro ก่อนนะครับ ความรู้สึกไม่ต่างกันนัก

[attachment=12362]

10/040/09 10.11

..................................................................

อัพกระทู้นิดนึงครับ

พอดีมีคนอยากไต้อย่างยาวๆ เป็นเพลง เลยเอาอันนี้มาประกอบครับ มีทั้ง Ad-lib .... Improvisation ...Variation

http://www.nimitguitar.com/mybb/attachme...?aid=12380

บางทีไม่ต้องอะไรยุ่งยากซับซ้อน เพลงที่คุ้นเคย เราเเค่รู้จักจัดวาง ทำความเข้าใจ ก็สามารถทำอะไรใหม่ๆได้


Variation ...ความเปลี่ยนแปลง, ความแตกต่าง.....ก็ไม่มีอะไรมากตามคำนั้นๆเเหละครับ นำมาสร้างสรรค์กับเพลงที่บรรเลง พบได้บ่อยในดนตรีประกอบภาพยนต์ ออเครสตร้า เพลงเเจ๊ส พวกนี้ใช้ประจำมากๆ



สำหรับตัวอย่างนี้ ก็น่าจะมีทุกอย่างที่พูดถึง มีใครสงสัย ยกมือขึ้นเลยครับ


Big Grin 16/04/09 บ่ายกว่าๆหน้าร้อน หลังสงกราณต์ไฟ ใจเย็นถ้วนหล้า อยากฆ่าล้างเผ่าพันธ์(ยุงลายข้างบ้านนะ 5555)Big Grin
ขอบคุณครับ สำหรับความรู้

ผมเป็นคนนึงที่ improvise ได้ห่วยมาก
สงสัยจะเป็นเพราะไม่แม่นเรื่องจังหวะกระมัง
เป็นประโยชน์อย่างเอนกอนันต์นานับประการ....
เด๋ยวกระผมคงต้องไปเพิ่มพูน เรื่องบันไดเสียง Scale หรือmode กับ อ.ก้าม....อีกที
เพื่อความรู้ เเละ ประสพการณ์ในเรื่อง การที่เราจะอิมโพรไวส์ ต่อไป...

ขอขอบพระคุณ "หนึ่งหัทยาเล็ก ศ.เจ้าพ่อก้าม..."มา ณ ที่นี้ด้วย Big Grin
(09-04-2009, 01:01)parradee Wrote: [ -> ]การที่เราจะอิมโพรไวส์ เราจะต้องมีความรู้ เเละ ประสพการณ์ในเรื่อง บันไดเสียง Scale หรือ mode พอสมควร

เข้าใจถึงระบบโครงสร้างทางเดินคอร์ด สัดส่วน จังหวะ ลักษณะทางดนตรี ที่จะร่วมบรรเลง ทั้งนี้ควรอยู่ภายใต้ความสามารถ ที่ตอบสนองระบบความคิด ให้เเสดงออกได้ดังความคิดนั้นๆ

เข้ามาช่วยตอกย้ำครับ เหมือน experimental art สาขาต่างๆด้วยเช่นกัน
จำเป้นต้องมีพื้นความรู้ที่อ้างอิงได้ มากพอสมควร

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ Cool
จะเรียกว่า คำนำ เเล้วกันนะครับ .............


เเรกเดิมที จะหาคำอธิบาย เเละ เเง่มุมต่างๆของการ Improvisation มาฝากกัน

จริงๆตั้งใจจะไปหาข้อมูล คัดลอกมาลงให้เเหละครับ เเต่หาที่อ้างอิงไม่ได้อย่างที่พอใจ

ซึ่งน่าตกใจมาก ที่สิ่งที่พูดคุย ใช้กันบ่อยๆ ไม่มีที่จะให้ข้อมูลได้ครบ เเละ ครอบคลุมเลย

เเม้ ทฤษฏีดนตรีเบื้องต้น ก็เจอผิดๆถูกๆ มึนๆ เข้าใจยาก อะไรต่างๆนาๆ


จึงจำเป็นต้องทำขึ้นมาเอง โดยการสุ่มหาคำที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนมากมาในเเง่คำถาม สงสัย บางทีเจอในพวกนักวิจารณ์ที่ไม่รู้เรื่องดนตรี เเต่พยายามอธิบาย หรือ บางทีเจอนักดนตรี เเต่อธิบายไม่เป็น


ผมจะขอเขียนในเเบบ พูดคุยอธิบาย คือ ไม่ได้เป็นนักวิชาการ มีความรู้สุดขั้วจากไหน เลยว่าจะเขียนเเบบส่วนตัว เจอยังไง ใช้ยังไง


ก็คิดเอง เเปลมาบ้าง ขุดตำราบ้าง กรองมา อาจไม่ครบถ้วน ตกไปยังไง ก็จะพยายามให้ครบถ้วนมากขึ้น

หากมีข้อสงสัย เสนอเเนะ ช่วยกันเพิ่มเติมกันนะครับ อยากรวบรวมข้อมูลเพื่อคนต่อๆไปจะ เพื่อคนไทยด้วยกันมีจะโอกาสที่ดีกันขึ้น



ขอบคุณทุกข้อความครับ

วิเคราะห์ ทำความเข้าใจตนเอง ค้น คิด...ในสิ่งที่ขาด เเล้ว พัฒนาปรับกันต่อไปครับ การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด


หัทยา สงวนสิน
ขอบคุณมากครับ

ได้รู้อะไรใหม่ๆอีกหลายอย่างเลย..
น้าหนึ่งครับ.. เราจะมีวิีธี หรือหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้โน๊ตในการ Improvise อย่างไรบ้างครับ
ว่าโน๊ตตัวนี้สมควรที่จะใช้ตรงนี้.. และ/หรือโน๊ตตัวนี้ไม่สมควรที่จะใช้สำหรับตอนนี้..

และโน๊ตแต่ละตัวในสเกลนั้น เราสามารถแยกออกมาได้มั๊ยครับ
ว่าตั้งแต่โน๊ตลำดับที่ 1 จนถึงลำดับที่ 7 แต่ละตัวมีอารมณ์เช่นไร

เคยได้ยินมาว่าผู้ที่สามารถ Improvise จนชำนาญ.. จะสามารถเล่นโต้ตอบกันได้เหมือนคำพูดที่สนทนากัน..
ถ้าอย่างนั้นในระหว่างที่เราเล่นดนตรีสื่อสารกัน.. หรือเหมือนกับคนที่พูดคุยกันอยู่นั้น..
ระหว่างนั้นผู้เล่น หรือตัวเรากำลังนึกถึงอะไร.. หรือควรนึกถึงอะไรครับ..
และจะถ่ายทอดออกมาเช่นไร ให้เขารับรู้ถึงสิ่งที่เราต้องการบอกเล่า..

เราควรคิดเป็นภาพอยู่ในหัว.. หรือเป็นคำพูดครับ..

ในขณะเดียวกัน.. เราจะตีความโน๊ตที่เขาสื่อสารออกมาเช่นไร..
เพื่อที่เราจะได้สามารถโต้ตอบให้เขารับรู้ว่าเราเข้าใจ..
และกำลังเดินทางไปด้วยกันในบทเพลงเดียวกัน..

ผมเคยได้รับคำตอบว่า.. "คำตอบในเรื่องนี้.. หาได้จากประสบการณ์ครับ.."

ซึ่งผมไม่ปฏิเสธว่า.. ประสบการณ์เป็นสิ่งที่สอนเรา.. ให้เราค่อย ๆเรียนรู้ ๆ ซึมซับ..
และนำไปใช้ได้เองโดยเป็นธรรมชาติ..

แต่สำหรับคนที่เริ่มต้น.. เราจะทำอย่างไรครับ..

...............................................................

ผมต้องรบกวนน้าหนึ่งด้วยครับ..
และขอบคุณน้าหนึ่งอย่างมากสำหรับความรู้.. และสิ่งดี ๆที่น้าหนึ่งบอกเล่าเสมอมา..

ขอบคุณครับ..
โฟล์คน้อย..
คำถามของเจ้าสำนักเสี้ยม เป็นคำถามที่น่าสนใจยิ่งนัก
อันตัวข้าน้อยเอง ก็เคยไปศึกษาเล่าเรียนมาบ้าง
พออ่านคำถามของท่านเจ้าสำนักแล้ว ทำให้ข้าน้อย
นึกถึงท่านอาจารย์ป้อมที่สงขลาอย่างยิ่ง
เท่าที่รวบรวมพลังวัตมาได้

การเลือกโน้ตมา improvise ตามโหมดหรือสเกล
ถ้าเลือกโน้ตที่เป็น chord tone ( 1 3 5 ) จะได้เสียงที่กลมกลืนกับคอร์ดนั้นๆ
ถ้าเลือก 7 จะได้เสียงที่แหวกแนว แตกต่าง
ถ้าเลือก 2 4 6 จะได้เสียงแปร่งๆ เหมือนไม่เข้ากับคอร์ด ถ้าเป็น ตัวที่ 4 อาจได้เสียงที่เป็น dissonant(เสียงกัดกัน) ด้วยซ้ำ
ประมาณนี้อ่ะครับ
(09-04-2009, 13:51)โฟล์คน้อย Wrote: [ -> ]น้าหนึ่งครับ.. เราจะมีวิีธี หรือหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้โน๊ตในการ Improvise อย่างไรบ้างครับ
ว่าโน๊ตตัวนี้สมควรที่จะใช้ตรงนี้.. และ/หรือโน๊ตตัวนี้ไม่สมควรที่จะใช้สำหรับตอนนี้..

และโน๊ตแต่ละตัวในสเกลนั้น เราสามารถแยกออกมาได้มั๊ยครับ
ว่าตั้งแต่โน๊ตลำดับที่ 1 จนถึงลำดับที่ 7 แต่ละตัวมีอารมณ์เช่นไร


.... มีสูตรวิเคราะห์คุณค่าของตัวโน๊ต จำเเนกบอกเลยครับ ว่า โน๊ตตัวนี้ คู่นี้ อยู่ตรงนี้มีค่า tension เท่าไหร่ เเต่ผมกลับไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ รสนิยม ความเเตกต่างของการเข้าใจเรื่องเสียง มีเเตกต่างกันไปครับ ในความคิดผมนะ หลายๆครั้งผมอาจจะไม่เชื่อตำรานัก

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ วิธีการมาเเสดงคุณค่าโน๊ตตรงนั้น ในเรื่องของความเข้มข้น สีสัน เเล้วจะนำมาอธิบายในต่อไปครับ


เคยได้ยินมาว่าผู้ที่สามารถ Improvise จนชำนาญ.. จะสามารถเล่นโต้ตอบกันได้เหมือนคำพูดที่สนทนากัน..
ถ้าอย่างนั้นในระหว่างที่เราเล่นดนตรีสื่อสารกัน.. หรือเหมือนกับคนที่พูดคุยกันอยู่นั้น..
ระหว่างนั้นผู้เล่น หรือตัวเรากำลังนึกถึงอะไร.. หรือควรนึกถึงอะไรครับ..
และจะถ่ายทอดออกมาเช่นไร ให้เขารับรู้ถึงสิ่งที่เราต้องการบอกเล่า..

เราควรคิดเป็นภาพอยู่ในหัว.. หรือเป็นคำพูดครับ..

ในขณะเดียวกัน.. เราจะตีความโน๊ตที่เขาสื่อสารออกมาเช่นไร..
เพื่อที่เราจะได้สามารถโต้ตอบให้เขารับรู้ว่าเราเข้าใจ..
และกำลังเดินทางไปด้วยกันในบทเพลงเดียวกัน..

.....ต้องใช้จินตนาการครับ จะคิดยังไงตามเเต่ความถนัดเเล้วเเต่บุคคลครับ.....ความกลมกลืน ความเหมาะสม ความกระด้าง ความขัดเเย้ง เรานำมาจัดวาง ในช่วงเวลาครับ

จริงๆ ก็คือ ห้วงวลีหลายอัน เรียงซ้อน เเสดงจังหวะลีลา ถามตอบ เป็น เรื่องการจัดวางสมดุลย์ในธรรมชาติของเสียงครับ

เรียนรู้ที่จะ กลมกลืน เเละ ขัดเเย้ง เเต่สำคัญคือ องค์ประกอบการจัดวางครับ


ผมเคยได้รับคำตอบว่า.. "คำตอบในเรื่องนี้.. หาได้จากประสบการณ์ครับ.."

..........ถูกครับ ประสพการณ์ ที่ถูกตีค่าความหมายด้วยความเข้าใจ = เกิดปัญญาครับ

ซึ่งผมไม่ปฏิเสธว่า.. ประสบการณ์เป็นสิ่งที่สอนเรา.. ให้เราค่อย ๆเรียนรู้ ๆ ซึมซับ..
และนำไปใช้ได้เองโดยเป็นธรรมชาติ..

แต่สำหรับคนที่เริ่มต้น.. เราจะทำอย่างไรครับ..


.....ใส่ใจ ใช้เวลาศึกษาด้วยสติ เรียนรู้อย่างมีระบบเเบบเเผน ด้วยความตั้งใจครับ....

...............................................................

ผมต้องรบกวนน้าหนึ่งด้วยครับ..
และขอบคุณน้าหนึ่งอย่างมากสำหรับความรู้.. และสิ่งดี ๆที่น้าหนึ่งบอกเล่าเสมอมา..

ขอบคุณครับ..
โฟล์คน้อย..



ดีใจที่มีผู้สอบถามครับ ขอบคุณสำหรับคำถามที่ดีนี้ด้วย

จะขยายละเอียดขึ้นในตอนต่อๆไปครับ

ผมเชื่อว่าดนตรี เป็นเรื่องการปฎิบัติ โดยเฉพาะ หัวข้อนี้ การสรุปมาเป็นคำอธิบาย เป็นเเค่คำเเนะนำเส้นทางเท่านั้น

สำคัญคือ ผู้อยากเดินทาง ต้องก้าวเดินไปเผชิญการเรียนรู้ จึงจะได้ค้นพบสิ่งต่างๆ

ยังรอคำถาม ข้อคิดเห็น การเเนะนำอยู่นะครับ สำหรับ นิยาม เเละ ความหมายของImprovisation

เเล้วจะเขียนในตอนต่อไปครับ หัทยา พาเที่ยว...Big Grin55555

ขอบคุณที่ติดตามครับ
(09-04-2009, 15:37)parradee Wrote: [ -> ]
(09-04-2009, 13:51)โฟล์คน้อย Wrote: [ -> ]เคยได้ยินมาว่าผู้ที่สามารถ Improvise จนชำนาญ.. จะสามารถเล่นโต้ตอบกันได้เหมือนคำพูดที่สนทนากัน..
ถ้าอย่างนั้นในระหว่างที่เราเล่นดนตรีสื่อสารกัน.. หรือเหมือนกับคนที่พูดคุยกันอยู่นั้น..
ระหว่างนั้นผู้เล่น หรือตัวเรากำลังนึกถึงอะไร.. หรือควรนึกถึงอะไรครับ..
และจะถ่ายทอดออกมาเช่นไร ให้เขารับรู้ถึงสิ่งที่เราต้องการบอกเล่า..

เราควรคิดเป็นภาพอยู่ในหัว.. หรือเป็นคำพูดครับ..

ในขณะเดียวกัน.. เราจะตีความโน๊ตที่เขาสื่อสารออกมาเช่นไร..
เพื่อที่เราจะได้สามารถโต้ตอบให้เขารับรู้ว่าเราเข้าใจ..
และกำลังเดินทางไปด้วยกันในบทเพลงเดียวกัน..

.....ต้องใช้จินตนาการครับ จะคิดยังไงตามเเต่ความถนัดเเล้วเเต่บุคคลครับ.....ความกลมกลืน ความเหมาะสม ความกระด้าง ความขัดเเย้ง เรานำมาจัดวาง ในช่วงเวลาครับ

จริงๆ ก็คือ ห้วงวลีหลายอัน เรียงซ้อน เเสดงจังหวะลีลา ถามตอบ เป็น เรื่องการจัดวางสมดุลย์ในธรรมชาติของเสียงครับ

เรียนรู้ที่จะ กลมกลืน เเละ ขัดเเย้ง เเต่สำคัญคือ องค์ประกอบการจัดวางครับ

ผมอ่านแล้ว รู้สึกเหมือนกำลังอ่านปรัชญาเซน
คือ งดงาม แฝงความหมายลึกซึ้ง แต่ ผมคิดไปคิดมาแล้วงง...55

มันพอจะอธิบายให้เป็นรูปธรรมกว่านี้ได้มั้ยครับ

เช่น

การจะทำให้การโต้ตอบระหว่างกันฟังดูกลมกลืน ตัวโน้ต และจังหวะ จะต้องไปด้วยกันได้
โดยต้องสังเกตจาก....xxx
แล้วก็ใช้โน้ตที่....yyy
ซึ่งหลักการทำให้สมดุลย์ คือ... zzz

เอ่อ...xxx yyy zzz ผมก็ไม่รู้หรอกนะครับ ว่ามันคืออะไร (และคิดว่ามันคงไม่มี)

เพียงแต่ลองตัวอย่างดูน่ะครับ
เผื่อว่าจะมีคำอธิบายที่ออกมาแนวๆนี้
Pages: 1 2 3 4