NimitGuitar webboard

Full Version: ถ้าระหว่างโน้ต มี 1/4 เสียง...
You're currently viewing a stripped down version of our content. View the full version with proper formatting.
วันนี้ ผมลองนึกดูเล่นๆว่า
ถ้า...
เราซอยเสียงระหว่างโน้ตให้มีระดับเสียงที่ถี่ขึ้น
เช่น จาก B ไป C มี B#/Cb เพิ่มขึ้นมา
จาก C ไป D ก็อาจจะเป็น C#-, C#, C#+ (เครื่องหมายสมมติ- ผมอุปโลกน์ขึ้นมาเอง)
พูดง่ายๆว่า หนึ่งเสียงเต็ม จากเดิมที่แบ่งเป็นครึ่งเสียง
เปลี่ยนมาแบ่งให้ถี่ขึ้นเป็น 1/4 เสียง
แล้ว...
มันจะทำให้การสร้างสรรค์ผลงานเพลงหลากหลายมากกว่านี้ไหม?
จะทำให้ท่วงทำนองที่สร้างสรรค์ขึ้นมาไพเราะกว่าที่เป็นอยู่ไหม?

นึกๆดูแล้ว ผมคิดว่า คำตอบน่าจะเป็นว่า
ก็คงทำให้ไพเราะขึ้นมาอีกนิดหน่อย แต่เป็นการได้ไม่คุ้มเสีย เช่น
-เครื่องดนตรีหลายๆชิ้นต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นอีกเกือบสองเท่า โดยเฉพาะประเภทคีย์บอร์ด
-การบันทึกโน้ตและอ่านโน้ตคงลำบากขึ้นกว่าเดิมมาก
-อาจจะเป็นเรื่องเกินจำเป็น เพราะหูมนุษย์ทั่วไปไม่สามารถแยกแยะได้ขนาดนั้น
และอื่นๆ...

หรือว่า..บางที เสียงตัวโน้ตอาจจะถูกกำหนดขึ้นมาที่ความถี่ต่างๆโดยอิงหลักวิชาการอะไรบางอย่างไว้แล้ว
ว่าเป็นการแบ่งความถี่ที่ดีที่สุด

คิดอย่างไรกันบ้างครับ?
มีครับ ในเครื่องดนตรีบางประเภท เช่น ซีต้า ของอินตรเดีย ก็ไม่ได้มีการแบ่งแบบโน๊ตสากล

หรือ ลองฟังงานที่มีกลิ่นจาก แดนภารตะ เช่น นายดิเรก ทรักกกก ทีเล่น slide guitar ก็จะไม่ได้เล่น เสียงตรงแป๊ะๆ ตาม Fret guitat ครับ

เออ เพลง Blues ก๊มีการดันสายแบบ 1/4 ครับ
โน้ตที่บันทึกบนบรรทัด 5 เส้นนั้นมีการบันทึกไว้ว่าให้เล่นเพี้ยนสูงกว่าโน้ตทั้ง 12 ตัวครับ
ยกตัวอย่างเช่น 1/2 1/3 1/4 นี่ก็หมายถึงให้เล่นโน้ตเพี้ยนสูงกว่าความเป็นจริงทั้งนั้น

นิยมมากๆในดนตรี Blue, Rock ครับ ถือเป็นเสนห์ของเครื่องสายเลยล่ะ ที่สามารถเล่นโน้ตเพี้ยนให้
รู้่สึกว่าเกือบจะถึง เกือบจะถึงมันเร้าใจมาก Big Grin

ดนตรีพื้นเมืองของชาติต่างๆก็มีการแบ่งเสียงไม่เหมือนโน้ตสากลครับ
ยกตัวอย่างเช่นเพลงไทยโบราณ จะมีการแบ่งระยะของตัวโน้ตเพียง 7 ช่วง ซึ่งสากลแบ่งเป็น 12 ช่วงที่เท่ากัน
เพราะเหตุนี้ เค๊าถึงบอกว่า ดนตรีไทยกับสากลมันเอามาเล่นด้วยกันไม่ได้ เพราะระบบการแบ่งเสียงที่แตกต่างกัน

แต่ที่เราเห็นๆวงในบัจจุบันเอาเครื่องดนตรีไทยมาเล่นกับเครื่องดนตรีสากลได้ ก็เนื่องจากเค๊าเอาเครื่องดนตรีไทย
ไปปรับระดับเสียงให้มีการแบ่งเสียงแบบเครื่องดนตรีสากลครับ

ดนตรีของชาวอินเดียนี่ยิ่งแบ่งเสียงได้อัสจรรย์ครับ แบ่งลึกถึง 4 ช่วงใน 1 Tone
เรียกว่า Microtones ครับ

แต่ด้วยวิธีแบ่งเสียงที่แตกต่างกันนี่ล่ะ ทำให้เกิดสำเนียงที่แตกต่าง
ทำให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แต่ละชาติ ก็ให้สำเนียงที่แตกต่างกัน Big Grin

ปล.ไม่เป็นเรื่องเกินจำเป็นหรอกครับ หูมนุษย์น่ะ แยกได้เยอะกว่า 1/4 Semi Tone ด้วยซำ้ไป Smile
น้ายอดตอบได้เยี่ยมมากๆครับ

^^
ขอบคุณมากครับ น้าTeera และน้ายอดจุฯ
เป็นเรื่องที่ผมไม่ทราบมาก่อนเลย

น่าสนใจดีนะครับ
แล้วอย่างพวกเครื่องดนตรีโบราณของอินเดียที่ว่านี่
ถ้าแบ่งซอยถี่ขนาดนั้น แล้วสมัยโบราณเค้าจูนเสียงกันยังไงครับ
มันมีเครื่องวัดความถี่แบบโบราณอะไรทำนองนั้นไหมครับ
หรือว่าใช้หูของคนที่ชำนาญอย่างเดียวเลย

ขอถามน้ายอดอีกนิดนึงนะครับ หรือท่านผู้รู้ที่กรุณา
เวลาเค้าบันทึก 1/2,1/3,1/4 บนบรรทัด 5 เส้นนี่ เค้าเขียนไว้ตรงไหนเหรอครับ
ผมเคยเห็นก็แต่ใน TAB กีต้าร์ที่ให้ดันสายไปเท่าไหร่ๆ
แต่บรรทัด 5 เส้น ไม่เคยเห็นเศษส่วนแบบนี้เลย
แล้วมันใช้ได้กับเฉพาะเครื่องสายหรือเปล่าครับ
ถ้าเล่นไปด้วยกับเปียโน
เจ้าเปียโนก็เล่นโน้ตเศษส่วนพวกนี้ไม่ได้ อย่างนั้นหรือเปล่าครับ
ได้ความรู้..... ขอบคุณครับ


แต่ผมคิดห่วงเรื่องการร้องมากกว่าการเล่นเครื่องดนตรีครับ

แค่ 12 เสียงนี่ก็หืดขึ้นคอแล้วสำหรับผมนะ Tongue
(10-03-2009, 20:51)Teera Wrote: [ -> ]มีครับ ในเครื่องดนตรีบางประเภท เช่น ซีต้า ของอินตรเดีย ก็ไม่ได้มีการแบ่งแบบโน๊ตสากล

หรือ ลองฟังงานที่มีกลิ่นจาก แดนภารตะ เช่น นายดิเรก ทรักกกก ทีเล่น slide guitar ก็จะไม่ได้เล่น เสียงตรงแป๊ะๆ ตาม Fret guitat ครับ

เออ เพลง Blues ก๊มีการดันสายแบบ 1/4 ครับ
นึกถึงเพลง NORWEGIAN WOOD ของ The beatles เลยครับ
ลองแบ่งเศษส่วนโน๊ตเพลงนี้ดูสิครับว่า ได้เศษส่วนเท่าไหร่?!?
http://www.youtube.com/watch?v=sRUOr3AHB...re=related
(13-03-2009, 11:06)LittleNomad Wrote: [ -> ]ลองแบ่งเศษส่วนโน๊ตเพลงนี้ดูสิครับว่า ได้เศษส่วนเท่าไหร่?!?
http://www.youtube.com/watch?v=sRUOr3AHB...re=related

ขอบคุณน้าอ้วนมากครับ
พอดีคอมที่ออฟฟิศไม่มีลำโพง
ไว้ถ้ามีโอกาสจะลองฟังดูครับ