NimitGuitar webboard

Full Version: ถาม ครับ takamine กับ the eagles
You're currently viewing a stripped down version of our content. View the full version with proper formatting.
Pages: 1 2 3
wow น้าpood ข้อมูลแน่นจัง อ่านแล้วได้ความรู้มากครับ
สุดยอดดดดดดดด
รอ รอ รอ ครับ...
สำหรับ น้า pood สุดยอดจริง จริง ต้องขอโทษด้วยที่เขียนไม่ข้อยรู้เรื่องครับ รีบเขียนในเวลางาน
(15-09-2008, 11:19)Therock Wrote: [ -> ]รอ รอ รอ ครับ...

รอให้มาฝอยเรื่อง Takamine ต่อหรือครับ ต่อก็ใด้ครับ

ในยุคที่ Takamine เลิกลอกเลียนแบบกีต้าร์อเมริกันประมาณปี 1981 นั้น
กีต้าร์รุ่นใหม่ของTakamine จะแบ่งออกเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือพวก
โปร่งไฟฟ้าที่มีช่างอเมริกันออกแบบให้ตลอด เริ่มจาก Lloyd Baggs ที่พูดถึงไปแล้ว อีกคนที่ไม่ค่อยมีใครรู้ก็คือ Michael Millard ที่เป็นผู้ออกแบบและผลิต
prototype ของ Santa Fe series รุ่นแรกคือ ESF 93 ในปี 1992 และกีต้าร์
series นี้ก็ยังใช้โครงสร้างที่ตานี่ออกแบบจนถึงทุกวันนี้

Michael Millard คือคนออกแบบและเจ้าของ Froggy Bottom ครับ

กีต้าร์ที่ขายในอเมริกาส่วนใหญ่จะไม่ขายในญี่ปุ่นนะครับเพราะในญี่ปุ่น
เขาจะมีรุ่นของเขาเองที่ไม่ส่งออกนอกประเทศแต่พี่ไทยเราก็ยังอุตส่าห์ไปหอบหิ้ว
กันมาจนใด้ บางคนไปเดินหารุ่นสายไนล่อนที่ Eagles ใช้จนทั่วแต่คนญี่ปุ่นไม่รู้จัก
หรอกเพราะมันไม่มีขายในญี่ปุ่น

กีต้าร์อีกประเภทนึงของ Takamine ก็คือกีต้าร์โปร่งที่เน้นเรื่องเสียง acoustic ล้วนๆที่ผลิตเพื่อเจาะตลาดยุโรปและออกแบบโดย dealer ของ Takamine ที่
ฝรั่งเศษชื่ออะไรผมก็จำไม่ใด้ รุ่นนี้คือพวก Natural series ตัวแรกคือ N 10
ครับ

ลักษณะที่แตกต่างจากกีต้าร์โปร่งทั่วไปของ Natural series คือการใช้ cedar
top ชึ่งตามปกติจะใช้กับสายไนล่อน ส่วนการใช้ split saddle หรือ string through bridge นั้นตาคนที่ออกแบบคงก้อปมาจากกีต้าร์ Lowden แน่นอน

เรื่องปรีของ Takamine ผมตอบบางส่วนไว้ในกระทู้นี้ครับ

http://www.nimitguitar.com/mybb/showthread.php?tid=2487

ตอนต่อไปจะเล่าเรื่อง Modern Takamines ครับ
(16-09-2008, 13:58)pood Wrote: [ -> ]
(15-09-2008, 11:19)Therock Wrote: [ -> ]รอ รอ รอ ครับ...

รอให้มาฝอยเรื่อง Takamine ต่อหรือครับ ต่อก็ใด้ครับ

ในยุคที่ Takamine เลิกลอกเลียนแบบกีต้าร์อเมริกันประมาณปี 1981 นั้น
กีต้าร์รุ่นใหม่ของTakamine จะแบ่งออกเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือพวก
โปร่งไฟฟ้าที่มีช่างอเมริกันออกแบบให้ตลอด เริ่มจาก Lloyd Baggs ที่พูดถึงไปแล้ว อีกคนที่ไม่ค่อยมีใครรู้ก็คือ Michael Millard ที่เป็นผู้ออกแบบและผลิต
prototype ของ Santa Fe series รุ่นแรกคือ ESF 93 ในปี 1992 และกีต้าร์
series นี้ก็ยังใช้โครงสร้างที่ตานี่ออกแบบจนถึงทุกวันนี้

Michael Millard คือคนออกแบบและเจ้าของ Froggy Bottom ครับ

กีต้าร์ที่ขายในอเมริกาส่วนใหญ่จะไม่ขายในญี่ปุ่นนะครับเพราะในญี่ปุ่น
เขาจะมีรุ่นของเขาเองที่ไม่ส่งออกนอกประเทศแต่พี่ไทยเราก็ยังอุตส่าห์ไปหอบหิ้ว
กันมาจนใด้ บางคนไปเดินหารุ่นสายไนล่อนที่ Eagles ใช้จนทั่วแต่คนญี่ปุ่นไม่รู้จัก
หรอกเพราะมันไม่มีขายในญี่ปุ่น

กีต้าร์อีกประเภทนึงของ Takamine ก็คือกีต้าร์โปร่งที่เน้นเรื่องเสียง acoustic ล้วนๆที่ผลิตเพื่อเจาะตลาดยุโรปและออกแบบโดย dealer ของ Takamine ที่
ฝรั่งเศษชื่ออะไรผมก็จำไม่ใด้ รุ่นนี้คือพวก Natural series ตัวแรกคือ N 10
ครับ

ลักษณะที่แตกต่างจากกีต้าร์โปร่งทั่วไปของ Natural series คือการใช้ cedar
top ชึ่งตามปกติจะใช้กับสายไนล่อน ส่วนการใช้ split saddle หรือ string through bridge นั้นตาคนที่ออกแบบคงก้อปมาจากกีต้าร์ Lowden แน่นอน

เรื่องปรีของ Takamine ผมตอบบางส่วนไว้ในกระทู้นี้ครับ

http://www.nimitguitar.com/mybb/showthread.php?tid=2487

ตอนต่อไปจะเล่าเรื่อง Modern Takamines ครับ

น้ากฤษณ์ครับแล้วรุ่น Natural กับ Supernatural นี่มันต่างกันตรงไหนเหรอครับ ขอบคุณครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้
อ่านสนุกมาก
น่าจะมีแม็กกาซีนอคูสติก กีตาร์ ของไทยนะครับ
แล้วมีคอมลัมน์ตามรอยกีตาร์ของน้ากฤษณ์
หรือไม่น้ากฤษณ์ออกเองเลยครับ
ขอสมัครสมาชิกทันที

หรือสมาชิกในบ้านฟ้าช่วยๆกันทำ
น่าจะได้สมาชิกไม่น้อยนะครับ
มือใหม่อ่าน เดอะ กีตาร์ ไม่ถึงจุใจ
จะอ่านโอเวอร์ไดรฟ์ก็มีอคูสติกอยู่คอมลัมน์เดียว
สมัยก่อนผมเคยบุกไปที่ออฟฟิศโอเวอร์ไดร์ฟ
ยังไม่มีคอลัมน์ของ อ.บุญชอบ
ผมแนะนำคุณหล้า คู่หู อ.ปราชญ์ ให้มีอคูสติกบ้าง
หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีคอลัมน์ของ อ.บุญชอบ
ไม่รู้ว่าคำแนะนำของผมเป็นผล หรือเป็นเรื่องบังเอิญ
แต่ก็แอบดีใจลึกๆ ที่มีคอลัมน์นี้ขึ้นมา
มีใครเป็นแบบผมบ้างหรือเปล่าไม่รู้ ซื้อโอเวอร์ไดรฟ์เพื่อดูคอลัมน์เดียวเป็นพิเศษ
และดูโฆษณาเฉพาะส่วนที่เป็นกีตาร์อคูสติก
ที่เหลืออ่านผ่านๆ เพราะผมไม่ได้สนใจกีตาร์ไฟฟ้าเลย

คนที่ทำหนังสือกีตาร์น่าจะเชิญกูรูในนี้ไปเขียนบ้างนะครับ ผมว่า ได้หลายท่านเลย
มุมมองจะได้หลากหลาย
ข้อมูลที่ผมได้รับจากบ้านนี้ มีมากกว่าที่ผมพยายามหาจากหนังสือกีตาร์ในไทยมาตลอดชีวิตเสียอีก
Natural Series มากับปรีรุ่น CT 4B ส่วน Super Natural ใช้ปรี CTP 1 ครับ
รุ่น Natural ไม้ข้างเป็น laminate ส่วน Super Natural มีสองรุ่นที่เป็น all solid
คือรุ่น TAN16 KOA และ TAN77

ในอดีตเคยมี Natural series ที่เป็น all solid คือรุ่น AN10, AN16 ครับ
(18-09-2008, 04:54)TOTO Wrote: [ -> ]ขอบคุณสำหรับความรู้
อ่านสนุกมาก
น่าจะมีแม็กกาซีนอคูสติก กีตาร์ ของไทยนะครับ

...ในฐานะเคยผ่านอาชีพ "คนทำ-แม็กกาซีน" มาไม่น้อย
อยากให้ข้อคิดเป็นอนุสติ - - เผื่ออาจจะมีใคร กำลังคิดอยากจะทำ!!!!!!!!

...ธุรกิจนิตยสาร ในประเทศนี้
รายได้-กำไร ไม่ได้มาจาก "จำนวนขายนิตยสาร"
และยิ่ง "พิมพ์มาก".... มี "สมาชิก" มาก... ก็อาจจะยิ่ง "ขาดทุน" มาก!...
เพราะ...
ทุกนิตยสารเกือบทุกเล่มที่วางขายกันในเวลานี้ - - "ขาดทุนหน้าปก"
ค่า "Distribution" - - ปัจจุบันประมาณ 37.5 ถึง 40% จากราคาหน้าปก

ข้อเท็จอีกสองเรื่องคือ...
นายทุนทำนิตยสารในบ้านเมืองนี้ ไม่ได้มอง "จำนวนสมาชิก" หรือ "จำนวนผู้อ่าน"
แต่มอง "จำนวนหน้าโฆษณา" ซึ่ง... เอาเข้าจริง หายากยิ่งกว่าตามหา "บราซิลเลี่ยน โรสวู๊ด" ในทะเลทรายซาฮาร่า...

(18-09-2008, 04:54)TOTO Wrote: [ -> ]แล้วมีคอมลัมน์ตามรอยกีตาร์ของน้ากฤษณ์
หรือไม่น้ากฤษณ์ออกเองเลยครับ
ขอสมัครสมาชิกทันที

ถ้าเป็น Pocket Book
ยอดพิมพ์ไม่เกินสัก 2,000 เล่ม
และไม่คิดมาก คือ แจกบ้าง...ขายบ้าง...
ก็ ok. ครับ...
และยินดีรับเป็น Editor ให้ครับ...

(18-09-2008, 04:54)TOTO Wrote: [ -> ]หรือสมาชิกในบ้านฟ้าช่วยๆกันทำ
น่าจะได้สมาชิกไม่น้อยนะครับ
มือใหม่อ่าน เดอะ กีตาร์ ไม่ถึงจุใจ
จะอ่านโอเวอร์ไดรฟ์ก็มีอคูสติกอยู่คอมลัมน์เดียว
สมัยก่อนผมเคยบุกไปที่ออฟฟิศโอเวอร์ไดร์ฟ
ยังไม่มีคอลัมน์ของ อ.บุญชอบ
ผมแนะนำคุณหล้า คู่หู อ.ปราชญ์ ให้มีอคูสติกบ้าง
หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีคอลัมน์ของ อ.บุญชอบ
ไม่รู้ว่าคำแนะนำของผมเป็นผล หรือเป็นเรื่องบังเอิญ
แต่ก็แอบดีใจลึกๆ ที่มีคอลัมน์นี้ขึ้นมา
มีใครเป็นแบบผมบ้างหรือเปล่าไม่รู้ ซื้อโอเวอร์ไดรฟ์เพื่อดูคอลัมน์เดียวเป็นพิเศษ
และดูโฆษณาเฉพาะส่วนที่เป็นกีตาร์อคูสติก
ที่เหลืออ่านผ่านๆ เพราะผมไม่ได้สนใจกีตาร์ไฟฟ้าเลย

คนที่ทำหนังสือกีตาร์น่าจะเชิญกูรูในนี้ไปเขียนบ้างนะครับ ผมว่า ได้หลายท่านเลย
มุมมองจะได้หลากหลาย
ข้อมูลที่ผมได้รับจากบ้านนี้ มีมากกว่าที่ผมพยายามหาจากหนังสือกีตาร์ในไทยมาตลอดชีวิตเสียอีก

ครับ... แม้จริง ๆ แล้ว ผมก็อยากเห็นอยากอ่านหนังสือดี ๆ เหมือนน้า TOTO
แต่เหตุผล ก็อย่างที่บอกไว้ข้างต้น...
ไตร่ตรองให้รอบคอบ...

แต่ถ้ามีเศรษฐีใจถึงอยากทำ "นิตยสาร-อุดมคติ" จริง ๆ
ก็เตรียมสตางค์ไว้สักปีละล้านบาท...
สำหรับทำนิตยสาร เนื้อหาพิมพ์ 2 สี ส่วนที่พิมพ์ 4 สี ใช้เฉพาะหน้าโฆษณา รวมความหนาสักร้อยกว่า-สองร้อยหน้า, ราคาหน้าปก ประมาณสัก 50-60 บาท (อย่าลืมหักด้วย 37.5 ถึง 40% สำหรับค่า "สายส่ง" ด้วยล่ะ!) ...โดยไม่ต้องถามหา "กำไร"
- - เราก็คงได้อ่าน "แม็กกาซีน" ดี ๆ กันครับ...
เรื่องอื่นๆให้ผมเขียนบทความก็ยังพอทำใด้และเคยเขียนบทความวิชาการมา
หลายเรื่องครับแต่ถ้าเป็นเรื่องกีต้าร์โปร่งถ้าให้เขียนเป็น hard copy ต้องขอผ่าน
แน่นอนทั้งฯที่ผมคิดว่าผมมีหนังสือเกี่ยวกับกีต้าร์ที่ใช้อ้างอิงใด้เยอะมากที่บ้าน

ทำไมต้องขอผ่าน ?

เรื่องตำนานของกีต้าร์นี่เป็นเรื่องของจินตนาการเสียเป็นส่วนใหญ่ไม่ใด้เกี่ยวกับ
ข้อเท็จจริงเลยซักนิด การเอาเรื่องจริงมาพูดอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพครับ
ถ้าผมเขียนตอบกระทู้นี่ไม่เป็นไรเพราะมีคนอ่านอยู่ไม่กี่คนและเดี๋ยวเดียวกระทู้ก็ตกไปแล้ว

มาลองกันซักสองสามเรื่องก็ใด้ครับ

1. Yamaha L-5, L-6, L-8 ไม่ใด้ผลิตในญี่ปุ่น

ในหนังสือ Official History of Yamaha Guitars ที่ Yamaha เขียนเองบอกว่า
รุ่นเหล่านี้ผลิตในไต้หวันตั้งแต่ปี 1975 แต่มาประกอบและ set up นิดหน่อยที่ญี่ปุ่นและติดป้ายว่า "Made in Japan" เฉยเลย

ข้อมูลแบบนี้คนอ่านไม่ชอบแน่นอนเพราะมันบ่อนทำลายจินตนาการของสาวก
ยามาฮ่าแต่ถึงยังไงยามาฮ่าก็ยังซื่อสัตย์กว่า Martin และ Fender เพราะเลิกใช้
มุขนี้มาตังแต่ยุค '80s ขณะที่สองเจ้านั่นใช้มาถึงยุค '90s

2. Fender ยุคหัวโตเป็น Fender ที่ห่วยที่สุด

เรื่องนี้เรื่องจริงจากปากของคนที่ผลิตครับแต่ไม่เล่าดีกว่า

3. ไม่มีใครรู้จักกีต้าร์ Lowden นอกจากคนในบ้านนี้

ผมเคยไป Northern Ireland สองสามหน คนแถวนั้นเขายังไม่รู้จักเลยครับ
Pages: 1 2 3