NimitGuitar webboard

Full Version: "Torrefaction" นวัตกรรมใหม่ของเสียงกีตาร์โปร่ง
You're currently viewing a stripped down version of our content. View the full version with proper formatting.
ปีนี้มีข่าวใหญ่ในวงการกีตาร์โปร่งเมื่อมีขาใหญ่อย่าง Martin, Gibson, Taylor และ Collings อ้างว่าใด้ค้นพบวิธีมหัศจรรย์ที่สามารถผลิตกีตาร์ใหม่ให้เสียงเหมือนกีตาร์อายุหลายสิบปีใด้สำเร็จแล้ว วิธีพิเศษนี้เขาเรียกว่า "Torrefaction" ครับ

Torrefaction เป็นการอบไม้ในเตาไร้ออกซีเจนเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างให้มีพลังงานสูงขึ้นเท่าๆกับถ่านหินและขนส่งใด้ถูกลง วิธีนี้ถูกค้นพบในประเทศฟินแลนด์ในปี 1990 ครับ

เมื่อสี่ปีที่แล้วผมใด้เคยไปดูระบบนี้ที่ฟินแลนด์ก็เลยรู้ว่าทำไมเขาถึงต้องหาวิธีนี้มาใช้ ประเทศที่อยู่ใกล้ขั้วโลกมีป่าไม้เชิงอุตสาหกรรมมากมายเพราะเขามีความหนาแน่นของประชากรน้อยมาก (ฟินแลนด์มีประชากร 1 คนต่อพื้นที่ 40ไร่ เมืองไทยมีประชากร 1 คนต่อพื้นที่ 5 ไร่) ฤดูเพาะปลูกของเขายาวแค่ 40 วันก็เลยปลูกพืชไร่ไม่ใด้ต้องปลูกป่าอย่างเดียว อุตรสาหกรรมไม้แปรรูปของเขามีปริมาณการส่งออกวันละหนึ่งล้านลูกบาศเมตรครับ

สองฟากถนนระหว่างเมืองจะมีป่าเต็มไปหมด ไม้ที่ปลูกส่วนใหญ่ก็มีไม้สน ไม้สปรูซ (ต้นคริสต์มาส) และต้น birch ที่ใบกำลังเปลี่ยนสีครับ

[Image: DSC05248.jpg]


[Image: DSC05249.jpg]


ข้างหลังของโรงงานแปรรูปไม้มีกองขี้เลื่อยใหญ่ขนาดภูเขาลูกย่อมๆ

[Image: DSC05279.jpg]


[Image: DSC05298.jpg]


ไม้นั้นมีองค์ประกอบของโครงสร้างอยู่สามอย่างคือ cellulose, hemi-cellulose และ lignin ในอัตราส่วนประมาณ 2:1:1 การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างที่ทำให้ไม้มีพลังงานสูงขึ้นจะเกิดขึ้นที่อุณภูมิเกิน 300 องศาเซลเซียสซึ่งทำให้ไม้ติดไฟง่ายขึ้นและนานขึ้น ความจริงเรื่องนี้เราก็รู้กันมานานแล้วตอนที่เราใช้ถ่านหุงข้าวซึ่งใด้มาจากการนำไม้ไปเผาไงครับ

Torrefaction คือการอบไม้ในเตาไร้อากาศซึ่งไม่มีการเผาไหม้ด้วยอุณภูมิประมาณ 350 องศาซึ่งมีการสูญเสียพลังงานน้อยมาก ไม้ที่ผ่านขบวนการนี้จะแข็งและเปราะทำให้บดเป็นผงใด้เหมือนถ่านหินครับ

[Image: topclassbiof.jpg]


โรงงานนี้ผลิต torrified wood chip ใด้ 500 ตันต่อวัน

[Image: DSC05268.jpg]


[Image: DSC05273.jpg]

ขบวนการนี้ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อการใช้ biomass เป็นเชื้อเพลิงใด้ในโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งตามปกติจะใช้ biomass เผาร่วมใด้ไม่เกิน 10% โรงไฟฟ้าถ่านหินสมัยใหม่สามารถใช้ torrified biomass ใด้ถึง 100% ซึ่งเป็นการลดมลพิษใด้อย่างมหาศาลครับ

[Image: DSC05277.jpg]


ความจริงแล้วผมไปดูระบบนี้เพื่อหาวิธีนำ biomass ที่ถูกเผาทิ้งปีละ 33 ล้านตันในภาคเหนือซึ่งทำให้เกิดปัญหามลพิษทุกปีเอามาเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างเช่นที่แม่เมาะแต่ก็ยังทำไม่สำเร็จเพราะขาดการสนับสนุนครับ
การนำไม้มาอบเพื่อให้เสียงเปิดนั้นบริษัท Landola ของฟินแลนด์ทำสำเร็จเป็นเจ้าแรกในปี 1996 แต่เขาไม่ใด้อ้างว่ามันคือขบวนการ torrefaction ลองอ่านที่เขาอธิบายไว้ดูครับ

[Image: landola.jpg]

เขาอบไม้ที่อุณหภูมิ 170-230 องศาโดยใช้เวลา 5 วันซึ่งมีผลดังต่อไปนี้

1. ไม้จะมีสีเข้มขึ้น
2. ไม้จะเปราะขึ้นแต่แข็งขึ้น
3. ไม้จะเบาขึ้น 5-20%
4. ไม้จะดูดซับความชื้นจากอากาศน้อยลง 50% และบิดตัวน้อยลง 70%

Thermo Tonewood ของ Landola ไม่ค่อยมีใครใด้สัมผัสเพราะไม่มีใครรู้จัก ส่วนคนที่เริ่มใช้ระบบนี้ทางฝั่งอเมริกาเป็นคนแรกก็คือ Dana Bourgeois ตั้งแต่ปี 2013 ครับ

"The process used to cure our Adirondack tops is a highly controlled, low-temperature variation of the basic commercial treatment. During processing, water, sugars, and resins are cooked off, leaving behind cellulose and lignum–the “glue” that binds cellulosic fibers together. Once processed, mass and weight are reduced, absolute stiffness is increased and internal damping is decreased; stiffness-to-weight ratio and Velocity of Sound (the rate at which vibration transmits through solid material) are dramatically increased."

Aged Tone Wood จะมีสีเข้มกว่าไม้ปกติครับ

[Image: 33-dana-bio-roasted-top.jpg]

กีตาร์ Bourgeois ที่มี aged tone top นั้นทางตัวแทนคือ Cin Guitars ใด้นำเข้ามาหลายตัวแต่ผมยังไม่เคยลอง (ถึงใด้ลองก็คงไม่รู้ว่าเสียงมันเหมือนกีตาร์เก่าหรือเปล่าเพราะไม่เคยมีกีตาร์ยี่ห้อนี้ที่อายุเกินสามสิบปีเหมือนกัน)

แน่นอนว่าการอบไม้ที่อุณหภูมิต่ำมีผลต่อโครงสร้างหลักน้อยมาก การอบวิธีนี้จะมีผลต่อไม้เนื้ออ่อนอย่าง spruce มากที่สุดเพราะไม้ประเภทนี้จะเป็นไม้ชนิดเดียวที่มี resin canal อย่างในรูปครับ

[Image: 2-1.jpg]

Spruce ที่มีอายุมากจะแห้งขึ้นเรี่อยๆเพราะ resin จะแข็งตัวทำให้มีการ damp น้อยลง นี่อาจเป็นสาเหตุทำให้ไม้หน้า spruce เสียงเปิดขึ้นตามอายุแต่ cedar เสียงเหมือนเดิมเพราะไม่มี resin canal

เพราะเหตุนี้ผู้ผลิตส่วนใหญ่เลยทำ torrefaction กับไม้หน้า spruce เท่านั้นนอกจาก Martin ที่ทำกับ bracing ด้วยและ Collings ที่ทำทั้งตัวถ้าไม้หลังเป็น maple ที่มีน้ำตาลเยอะ

ลองฟังคำอธิบายจากผู้ผลิตดูครับ

MARTIN



GIBSON



TAYLOR



BOURGEOIS



ปีนี้เราคงใด้มีโอกาสใด้ลอง Martin, Taylor และ Gibson torrefied tops แน่นอนครับเพราะตอนนี้เริ่มวางตลาดแล้วในอเมริกา
Rolleyes ถ้าซื้อมาแล้วขอลองเล่นด้วยนะครับ..อิ..อิ Tongue
มีHuss&Daltonอีกยี่ห้อที่ทำออกมาเยอะ ที่ยังไม่ได้ใช้สำหรับยี่ห้อที่รู้จักกันของUSAก็ Santa Cruzยี่ห้อเดียว

ผมได้มีโอกาสเทียบระหว่างกีตาร์Prewar Martinเทียบตัวต่อตัวกับกีตาร์ประเภทที่ใช้ไม้ประเภทนี้ที่อเมริกา บอกได้ว่าคุณภาพระดับเดียวกัน แต่คาแรคเตอร์ต่างกันบ้างตรงย่านเบสที่Vintageจะออกตุ่นกว่า แต่เรื่องFunadmental, Sustain, Dryness,ETC ของเสียงอยู่ระดับเดียวกันเลยครับ
นานแล้วครับ ที่ไม่ได้อ่านบทความดีๆแบบนี้
ขอบคุณครับ

เสียดายที่ลุง Kazuo Yairi เสียชีวิตเร็วไปหน่อย
ไม่งั้นอาจมีอะไรดีๆให้เซอร์ไพรส์
ได้ลองเทียบ Martin OO ปี 1921 เทียบกับกีต้าร์ปี 2014 Bourgeois ที่ไม้หน้าเป็น aged tone ลักษณะของเสียงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาจต่างกันบ้างเล็กน้อยครับ นวัตกรรมนี้น่าสนใจมากครับ
ขอบคุณครับน้า pood ที่กรุณานำเรื่องราวดีๆ มาแบ่งปันให้ทราบกัน
เป็นความรู้ และน่าสนใจมากๆ ครับ
เพิ่งมาเห็น
ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้วววว
ขอบพระคุณน้าPood คร้าบบบบบ
Big GrinBig GrinBig Grin