NimitGuitar webboard

Full Version: ลองคิดเล่นๆครับว่าถ้าไม้หน้าเป็นแผ่นใหญ่ๆแผ่นเดียวกัน
You're currently viewing a stripped down version of our content. View the full version with proper formatting.
Pages: 1 2 3
ผมดูขนาดของต้นSpruceสามารถใช้ไม้แผ่นเดียวทำกีต้าร์ได้ แล้วเสียงที่ออกมาน่าจะเป็นอย่างไรครับ โดยบราสซิ่งวิธีเดิม
ห๋าาาา ไม้หน้าเต็มแผ่น อยากเห็นจัง
เสียงออกมาคงไม่ใด้เรื่องแน่นอนครับเพราะวงปีมันอยู่ผิดที่ ต้นไม้นั้นตอนอายุน้อยวงปีจะห่างกันมากซึ่งไม่ใด้เกิดเพราะมันโตเร็วกว่าแต่เกิดเพราะเส้นรอบวงของต้นมันเล็กครับ กีต้าร์นั้นเขาใช้ไม้หน้าสองชิ้นมา book matched กันโดยเอาด้านที่อ่อนกว่าอยู่ด้านนอกเสมอ

[Image: 79395187.jpg]


ที่ต้องทำอย่างนั้นเพราะไม้หน้ากีต้าร์มันก็คือลำโพงนั่นเอง ต่างกันตรงที่ตัวกระตุ้นให้สั่นนั้นเป็นแรงสั่นของสายไม่ใช่กระแสไฟฟ้า

[Image: loudspeakersectionlarge.png]

ลำโพงมันขยับใด้ก็เพราะขอบนอกมันอ่อนกว่าตัวกรวยครับ ถ้าุคุณทำกีต้าร์จากไม้ชิ้นเดียวนี่ถ้าเป็นไม่ quarter sawn คุณก็ใด้วงปีใหญ่ข้างเล็กข้าง ถ้าเป็นไม้ flat sawn ที่เลื่อยตรงกลางนี่คุณจะใด้วงปีกว้างอยู่ตรงกลางและวงปีแคบที่แข็งกว่าอยู่ด้านนอก มันผิดหลัก physics ครับ
เพิ่งหายสงสัยวันนี้แหละครับ ขอบคุณพี่กฤษครับ
ว่าทำไมลายไม้ด้านนอกถึงห่าง หายสงสัยเลยครับ
แล้วไม้ที่ใช้ทำถ้าแผ่นหนาจะเสียงเบสจะดีกว่าแผ่นบางไหมครับ(ในกรณีที่แห้งสนิททั้งคู่) และทำไมทรงเดรทน็อท
ถึงมีเสียงเบสมากกว่าทรงอื่นนะครับ
ในด้านทฤษฏีแล้วไม้หน้าและ bracing นั้นเป็น resonating surface ชิ้นเดียวกันนะครับ ถ้าจะค้องการทราบว่าไม้หน้าหนากับบางต่างกันอย่างไรก็ต้องเข้าใจเรื่อง natural vibration และ resonant frequency ก่อนครับ

มวลทุกชนิดจะมี natural frequency ของตัวเองเมื่อรับ dynamic load ตัวอย่างเช่น tuning fork ที่เราใช้คั้งเสียงกีต้าร์นั้นเมื่อถูกเคาะจะสั่นที่ 440 Hz (A) เป็นต้น ในสมัยก่อนนั้นวิสวกรยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่อง natural หรือ resonant frequency ซักเท่าไหร่จยกระทั่งเกิดเหตุการณ์ Tacoma narrow bridge ที่พังโดยการสั่นของตัวเองตามกระแสลมในปี 1940 ครับ ผมว่าวิศวกรโครงสร้างทุกคนน่าจะเคยดู video คลิปนี้



เดี๋ยวนี้ไม่มีทางเกิดเหตุการณ์แบบในคลิปข้างบนอีกเพราะเราสามารถคำนวนและเปลี่ยนแปลง natural frequency ใด้มาหลายสิบปีแล้วครับ ถ้่เราต้องการให้ไม้หน้ามันสั่นมากในย่านเบสเราก็เฟิ่ม mass เข้าไปโดยใช้ไม้หน้าหนาขึ้นและไม่ scallop bracing ถ้าจะลองของจริงก็ลองเทีบบเสียงย่านเบสระหว่าง Martin D-28 กับ HD-28 ใด้ครับ

ไม้หน้าหนานั้นทำให้ natural frequency ต่ำลงมันเลยทำให้เบสครางยาวขึ้นจนบางที่เกิดปัญหา bass boom ในห้องอัด ปัญหาอีกอย่างคือมันทำให้เสียงเปิดช้าลง Taylor เขาเลยใช้ไม้หน้าบางไงครับ กีต้าร์ Taylor นั้นเสียงเปิดมาตั้งแต่ยังใหม่เอี่ยมเพราะนอกจากใช้ไม้หน้าบางแล้วเขายังเอาเข้าเคาอบที่ 200 องศาอีก 30 นาทีเพื่อไล่ความชื้น ถ้าเป็น Martin หรือ Guild นี่บางตัวต้องรอเป็นปีกว่าเสียงจะเปิดครับ

กีต้าร์ทรง D เบสหนักสุดเพราะ body volume มันมากสุดครับ มากกว่าทรง jumbo ส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ (ยกเว้น Guild F-50) ลำโพงตู้ใหญ่นั้นย่อมเบสลึกกว่าตู้เล็กอยู่แล้วครับ
ขอบคุณน้าpoodครับ น้าน่าเขียนหนังสือขายนะครับ เขียนอ่านง่ายครับ บรรยายเห็นภาพเลยครับ
เขียนเมื่อไหร่ผมซื้อเล่มนึงครับ พร้อมลายเซ็นต์นะครับ ว่าทำไมTaylorน้าไม่.......
อ่านเรื่องวิธีอบไม้หน้าของ Taylor ใด้ที่นี่ครับ

http://www.premierguitar.com/Magazine/Is...uture.aspx
ชอบการตอบคำถามของคุณปู๊ดมากครับ มีหลักการและเหตุผล ไม่ใช้หลักกูหรือไสยศาสตร์
(31-01-2012, 12:45)kongpatom Wrote: [ -> ]ชอบการตอบคำถามของคุณปู๊ดมากครับ มีหลักการและเหตุผล ไม่ใช้หลักกูหรือไสยศาสตร์

To My Humble Opinion, he's one of the best here. His info are so solid and reliable to say the leastCool
Pages: 1 2 3