NimitGuitar webboard

Full Version: Chasing Daylight
You're currently viewing a stripped down version of our content. View the full version with proper formatting.
I received this one from my friend and hope it will shed some light to someone here. Just one person will worth my effort for doing this;

อายุเพียง ๕๓, เป็นผู้บริหารสูงสุดของบริษัทตรวจบัญชียักษ์ “KPMG” ของสหรัฐฯ,
ได้รับเงินเดือนอันดับต้น ๆ ของสุดยอดนักบริหารมะกัน, กำลังอยู่จุดสูงสุดของอาชีพ...กำลัง เตรียมเดินทางรอบโลก, เตรียมไปร่วมงานวันแรกของลูกสาวขึ้นเรียนชั้นมัธยม, ทุกอย่างกำลัง เป็นไปอย่างเฟื่องฟู
และวันดีคืนดี, หมอก็ตรวจพบว่านาย “ยูจีน โอ’เคลลี่” (Eugene O’Kelly)
มีมะเร็งในสมองและอยู่ในขั้นสุดท้ายเสียด้วย หมอบอกว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่เกิน ๓ ถึง ๖ เดือน ไม่ต่างอะไรกับสวรรค์อับปางลงต่อหน้าต่อตา, ความฝันทุกอย่างที่มีสำหรับตัวเองและครอบครัวพังสลายลงมาฉับพลัน
ยูจีนตัดสินใจว่าเขาจะไม่ยอมนอนรอวันตาย,เขาตัดสินใจปรับแผนชีวิตเพื่อให้ไม่กี่สิบวันของชีวิตที่เหลือมีความหมายที่สุด

ผมรู้จักเขาจากหนังสือ “Chasing Daylight” (“ไล่ล่าแสงตะวัน”) ที่ออกขายมาในอเมริการะยะหนึ่งแล้ว เป็นหนังสื่อที่เขาเล่าชีวิตวันต่อวันจนถึงวันสุดท้าย โดยมีบทส่งท้ายเขียนโดยภรรยาที่ชื่อ “คอรีนน์” ซึ่งเป็นทั้งเงาประจำตัวและเป็นพยาบาลตลอด ๒๔ ชั่วโมง
ที่เล่าถึงนาทีสุดท้ายของชีวิตของสามี

เรื่องราวน่าทึ่งของนักธุรกิจใหญ่ที่ต้องเผชิญกับ “กำหนดตารางวันตาย” นี้เป็นการบันทึก
“การเดินทางวาระสุดท้าย” อย่างกล้าหาญและเด็ดเดี่ยวภายใต้ชื่อหนังสือนั้น, คนเขียนอธิบายว่ามันคือเรื่องราวส่วนตัวที่เล่าขานอย่างละเอียดละออว่า“ความตายที่กำลังจะมาถึง
ไปปรับเปลี่ยนชีวิตของข้าพเจ้าอย่างไรบ้าง”

“ทันทีที่หมอบอกว่าผมจะมีชีวิตอยู่อีก ๓ ถึง ๖ เดือน, ผมก็ถามตัวเองว่า “ทำไมช่วงสุดท้ายของชีวิตคนเราจะต้องเป็นช่วงที่เลวร้ายที่สุด?”
เขาบอกตัวเองว่าเขาจะทำให้วันเวลาช่วงสุดท้ายก่อนตายนั้นเป็น “ประสบการณ์ทางสร้างสรรค์ที่ควรจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดของชีวิต” ให้ได้เมื่อมีเวลาไตร่ตรองและพูดคุยกับตัวเองเพียงพอ, ยูจีนก็บอกว่าถือว่าเป็น “โชคดี” ที่เขารู้ล่วงหน้าว่าจะตาย เพราะคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีเวลาคิดถึงความตายของตัวเองก่อนด้วยซ้ำ เพราะมันมาอย่างรวดเร็ว, กระทันหัน, และเจ้าตัวตั้งตัวไม่ทันด้วยซ้ำไป

หมอบอกเขาว่ามะเร็งในสมองของเขาส่วนนั้นจะไม่ทำให้มีอาการเจ็บปวดมากนัก ความเสื่อมของสมองมาค่อย ๆ มาในรูปของเงามืด สายตาจะพร่ามัว และเมื่อถึงเวลาอาการก็จะทรุดเข้าสู่โคม่า ความมืดของกลางคืนจะมาถึง และเขาก็จะตาย เขานับนิ้วแล้วว่าจะเหลือชีวิตเพียง ๑๐๐ วัน

เขาย้อนมองชีวิตการทำงานเขาแล้วก็ปลงว่าเขาไม่เคยมีเวลาให้กับครอบครัว, ไม่ค่อยได้กลับบ้านกินข้าวเย็นกับภรรยาและลูก, แม้ลูกจะอ้อนว้อนขอร้องให้เขาไปร่วมงานโรงเรียนของลูก เพราะพ่อแม่ของเพื่อน ๆ ต่างก็ไปร่วมทั้งนั้น, เขากลับอ้างว่ามีนัดหมายเรื่องงานการที่ไม่อาจจะไปเป็นเพื่อนของลูกได้

ยูจีนนั่งเสียใจว่าเขาใช้ชีวิตอย่าง“นักธุรกิจที่เคยมีเวลาให้กับครอบครัว”ทั้ง ๆ ที่เขาอ้างว่าที่เขาทำงานหามรุ่งหามค่ำ,ต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้ได้ตำแหน่งสูงขึ้นและได้รายได้เพิ่มพูนขึ้นนั้นก็เพราะเขารักครอบครัว
“ในฐานะซีอีโอของบริษัทใหญ่ที่มีพนักงานถึง ๒๐,๐๐๐ คน, ผมมีสิทธิ์พิเศษมากมาย
แต่งานในตำแหน่งนั้นก็กดดันให้ผมต้องทำงานอย่างบ้าเลือด ปฏิทินงานการของผมกำหนดไว้ ๑๘ เดือนล่วงหน้าผมเคลื่อนไหวด้วยความเร็ว ๑๐๐ ไมล์ต่อชั่วโมงตลอดเวลา, ผมทำงานตลอดเวลา, แม้วันสุดสัปดาห์ก็ไม่ได้เว้น, กลางดึกกลางดื่นผมก็ยังทำงาน,
ผมไม่เคยได้ไปงานโรงเรียนของลูกสาวคนเล็กของผมเลย สิบปีแรกหลังการแต่งงาน,
ผมไม่เคยไปพักร้อนกับภรรยาเลย...”

แต่เขารู้วันที่เขามีชีวิตเหลือไม่กี่เดือนว่านั่นเป็นข้ออ้างที่เขาไม่มีโอกาสได้แก้ตัวอีก
ยูจีนตัดสินใจว่าเขาจะทำให้การจากโลกของเขา
เป็น “ความตายที่ดีที่สุด” เท่าที่จะทำได้ เขาเรียกมันว่า “the best possible death”

เขานั่งลงเขียน “สิ่งที่ต้องทำก่อนตาย” อย่างนี้

๑. จัดแจงเรื่องกฎหมายและการเงินของตัวเองให้ครอบครัวให้เรียบร้อย
๒. “ร่ำลา” ครอบครัว, เพื่อนสนิท, และเพื่อนร่วมงาน
๓. ทำให้ทุกอย่างที่เหลือของชีวิตเป็นเรื่อง “ง่าย ๆ และสบาย ๆ”
๔. อยู่กับปัจจุบันทุกนาที
๕. สร้างและเปิดอารมณ์ให้รับ “นาทีอันสมบูรณ์” (“perfect moments”) ตลอดเวลาจนถึงลมหายใจสุดท้าย
๖. เริ่มต้นกระบวนการ “ผ่องถ่าย” ไปสู่ภาวะถัดไป
๗. เตรียมงานศพของตัวเอง

น่าแปลกว่า สำหรับคนที่ต้องรับการรักษาที่ทำให้ร่างกายต้องผ่ายผอมและสมองทำงานช้าลงไปเรื่อย ๆ นั้น, ยูจีนสามารถทำตามตารางที่วางไว้ให้กับตัวเองเกือบทั้งหมด

ทุกวัน, เขาจะนั่งลงเขียนหนังสือเล่มนี้ด้วยปากกาเพราะสมองไม่พร้อมจะให้ใช้นิ้วพิมพ์คอมพิวเตอร์ได้ และลายมือก็เริ่มจะเฉ ๆ ไฉ ๆ ไม่เป็นตัวหนังสือแล้ว แต่เขาก็มีความอดทนและมุ่งมั่นเขียนจนถึงอีกไม่กี่วันก่อนที่จะจากไปโดยมีภรรยาของเขาเป็น “ผู้เขียนร่วม”

เพื่อปิดฉากชีวิตด้วยหนังสือที่เขาเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ไม่เคยคิดว่า
วันหนึ่งชีวิตอันยุ่งเหยิงและวุ่นวายกับการ “สร้างเนื้อสร้างตัว”หรือ “สร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองและครอบครัว” นั้นจะต้องปิดฉากลงอย่างฉับพลันอย่างนั้น

ยูจีนร่ำลาเพื่อนฝูงด้วยการเขียนจดหมายไปขอบคุณเขาที่ได้เป็นเพื่อนอันแสนดีหรือเพื่อนร่วมกันที่น่ารัก....และบอกด้วยว่า เขากำลังจะจากโลกนี้ไปในเร็ววันขอให้เพื่อนได้รับความขอบคุณจากเขาด้วย

หนึ่งในหลายร้อยฉบับที่เขาเขียนอำลาเพื่อนนั้นมีสั้น ๆ อย่างนี้

“ดั๊กเพื่อนรัก...

เพื่อนคงได้ยินข่าวแล้ว, สุขภาพฉันย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ เพราะเจ้ามะเร็งปอดระยะสุดท้าย
ที่ฉันเขียนจดหมายฉบับนี้มาก็เพื่อจะบอกเพื่อนว่ามิตรภาพของเราตั้งแต่เราเรียนที่ Penn State ด้วยกันนั้นมีความหมายต่อชีวิตฉันอย่างมากทีเดียว ขอให้เพื่อนโชคดีในชีวิต
ขอให้พระเจ้าคุ้มครองเพื่อนด้วย

ยูจีน...”

เขานั่งลงกับลูกทีละคนเพื่อ “พูดจาสั่งลา” กันอย่างสนิทสนม อยากคุยเรื่องอะไรก็ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอดีต, หรือสิ่งที่เคยทำด้วยกันหรือประสบการณ์อันน่าประทับใจที่เคยใช้ชีวิตร่วมกันไม่จำเป็นต้องเป็นการแสดงความอาลัยอาวรณ์, ไม่จำเป็นต้องเป็นการพูดคุยกันอย่างเป็น “สาระ” เกินไป..จะคุยอะไรก็ได้ระหว่างพ่อกับลูก, ลูก กับพ่อ, ผัวกับเมีย, เมียกับผัว...หัวเราะต่อกระซิก, กระเซ้าเย้าแหย่กันได้ก็ยิ่งดี

และสิ่งที่ยูจีนค้นพบที่สำคัญที่สุดก่อนหมดลมหายใจก็คือความสำคัญของการ “อยู่กับปัจจุบัน” หรือ here and now เพราะตลอดชีวิตของการทำงานนั้น, เขาไม่เคยอยู่กับตัวเอง, ไม่เคยอยู่กับปัจจุบันเลย...มีแต่อดีตกับอนาคต

เมื่อเขารู้ว่าเหลือชีวิตเหลือเพียงแค่ประมาณ ๑๐๐ วัน, เขาจึงรู้ว่า การ “อยู่กับปัจจุบัน” นั้นมีความหมายอันลึกซึ้งเพียงใด






ช่วงที่พ่อป่วยหนัก พ่อบอกว่าเป็นช่วงที่พ่อมีความสุขที่สุดในรอบหลายๆปี เพราะเราได้อยู่ด้วยกันพร้อมหน้าพ่อแม่ลูก
ระหว่างทางสู่ Hollywood ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับพี่ nap หลายๆเรื่อง เป็นสิ่งที่ผมจดจำมาจนทุกวันนี
ขอบคุณพี่ nap สำหรับข้อคิดดีๆในการดำเนินชีวิตครับพี่

ผมยกให้กระทู้นี้เป็นกระทู้สุดยอดประจำเดือนมกราคม 2555 ของบ้านสีฟ้า

เป็นข้อเตือนสติว่า เราคิดว่าเราทำดีที่สุดเพื่อครอบครัวหรือคนที่เรารักและรักเราแล้วหรือยัง

กำหนดเวลาก่อนตาย บางครั้งอาจสั้นเข้าหรือยืดออกไปได้บ้าง แต่แล้วในที่สุดก็ต้องยอมรับความจริงที่จะต้องเกิดขึ้น

การเสียใจที่ไม่ได้ทำอะไรดีๆไว้ก่อนตาย มันเหมือนกับตายไปแบบคาใจ
ตายไม่กลัว กลัวแต่ตายแบบทิ้งปัญหาไว้มากมายให้คนที่ยังอยู่
ความสุขในครอบครัว เป็นความสุขที่สุดแล้วในความคิดของผม
นักบริหารที่ดีคือบริหารดีทั้งงาน ครอบครัว และสังคม
ชอบกระทู้นี้มากๆเช่นกันครับ
(29-01-2012, 02:53)povation Wrote: [ -> ]ผมยกให้กระทู้นี้เป็นกระทู้สุดยอดประจำเดือนมกราคม 2555 ของบ้านสีฟ้า

เป็นข้อเตือนสติว่า เราคิดว่าเราทำดีที่สุดเพื่อครอบครัวหรือคนที่เรารักและรักเราแล้วหรือยัง

กำหนดเวลาก่อนตาย บางครั้งอาจสั้นเข้าหรือยืดออกไปได้บ้าง แต่แล้วในที่สุดก็ต้องยอมรับความจริงที่จะต้องเกิดขึ้น

การเสียใจที่ไม่ได้ทำอะไรดีๆไว้ก่อนตาย มันเหมือนกับตายไปแบบคาใจ
ตายไม่กลัว กลัวแต่ตายแบบทิ้งปัญหาไว้มากมายให้คนที่ยังอยู่
ความสุขในครอบครัว เป็นความสุขที่สุดแล้วในความคิดของผม
นักบริหารที่ดีคือบริหารดีทั้งงาน ครอบครัว และสังคม
+ 1000
(29-01-2012, 00:01)napman Wrote: [ -> ]และวันดีคืนดี, หมอก็ตรวจพบว่านาย “ยูจีน โอ’เคลลี่” (Eugene O’Kelly)
มีมะเร็งในสมองและอยู่ในขั้นสุดท้ายเสียด้วย

.
.
.

“ดั๊กเพื่อนรัก...

เพื่อนคงได้ยินข่าวแล้ว, สุขภาพฉันย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ เพราะเจ้ามะเร็งปอดระยะสุดท้าย ...

ยูจีน...”

อ่านแล้วแอบงงนิดๆ ตกลงมะเร็งที่ไหนกันแต่ เลยลองถาม Wikipedia ดูแล้วก็ได้เรื่องคร่าวๆดังนี้ครับ

"Eugene O'Kelly was a former Chairman and CEO of KPMG, one of the largest U. S. accounting firms and one of the Big Four auditors.
Eugene was elected Chairman and CEO of KPMG (U.S.) in 2002 for a term of six years. In May 2005, at age 53, Eugene was diagnosed with a terminal brain tumor[1]. He resigned from KPMG and spent the rest of his time with friends and family. Eugene died on September 10, 2005 of terminal brain cancer.
Posthumously, Eugene published his experiences about accepting death and his last days as a memoir, Chasing Daylight. His wife Connie O'Kelly contributed the last chapter of the book. The biography won, among other awards, the International Business Book Award from the Financial Times.
Eugene was survived by his wife Connie O'Kelly and daughters Marianne and Gina.

References
O'Kelly, Eugene. Chasing Daylight. McGraw-Hill, 2006, p. 31."