NimitGuitar webboard

Full Version: ถามน้าปู๊ด และท่านผู้รู้ เรื่อง ลามิเนต ที่เอามาทำกีต้าร์ คับ
You're currently viewing a stripped down version of our content. View the full version with proper formatting.
กีต้าร์โปร่งที่เราเล่นกันในปัจจุบัน พอจะแบ่งได้ว่าเป็น all solid กับ laminate

all solid ก็คือ เอาไม้มาเลี่อยให้ได้ขนาด แล้วก็ดัด แล้วก็เอามาแปะ ตามกรรมวิธีของแต่ละบริษัท

ที่นี้มาถึงเรื่อง ลามิเนต คับ ... ผมสงสัย เลยขออนุญาติถามน้าปู๊ด และท่านผู้รู้ด้วยคับ ว่า...

1. ลามิเนต คืออะไร
2. แล้วเค้าใช้วิธีอะไรในการสร้างขึ้นมา
2. แล้วลามิเนตที่เค้าเอามาใช้ทำกีต้าร์นั้นมี spec เป็นอย่างไร
4. แล้วลามิเนตจากไม้ rosewood กับลามิเนตจากไม้ mahogany เสียงมันจะต่างกันเหมือนกรณีที่เป็น solid มั้ยคับ
5. แล้วการที่มี กาว เข้ามาอยู่ระหว่างแต่ละชั้นของลามิเนต มันส่งผลอะไรบ้าง
6. แล้วนอกจาก กาว แล้วยังมีวิธีการเชื่อมแต่ละชั้นของลามิเนตเข้าหากันมั้ยคับ

ขอบคุณครับ

คิกๆๆๆ

อันนี้เป็นโครงสร้างของลามิเนตที่เอาไว้ทำ ไม้พื้น คับ

[Image: mohawk_laminate_flooring_manufacturing.png]
เดาว่าlaminate คือไม้อัดที่น่าจะมาจากขี้เลื่อยอัดกันแปะทับด้วยผิวไม้ให้ดูสวยงาม รอฟังผู้รู้ด้วยคนครับ
บ่ใจ้เด๊อ..มันดีทีเดียวนะครับ..ฮิ ฮิ ผมมีอยู่ต้วหนึ่งครับ..อายุ 30 ปีแล้วครับ..Yamaha FG580...
ไม้laminated มีหลายแบบครับ แต่เท่าที่เห็นก็มี
-แบบที่ทำจากไม้solid บางๆมาอัดรวมกันให้ได้ความหนา ใช้ในกีตาร์ที่ราคาแพงหน่อยอย่าง martin,takamine,asturias
-แบบที่ผิวสองด้านเป็นveneerจากไม้จริงแต่บางมากๆ ไส้ตรงกลางอาจจะป็นเศษไม้อัด+กาว หรือไม้คุณภาพต่ำหน่อย ใช้กับกีตาร์ราคาถูก
อาจจะมีแบบอื่นอีก แต่ที่เห็นใช้เยอะๆก็สองแบบที่พูดถึงด้านบนครับ
คือผมมีประเด็นครับ

ที่ว่า เอาไม้บางๆ มาอัดรวมกันนั้น ... ผมจะพูดถึงเรื่อง ไม้บางๆ นี่แหล่ะคับ

เพราะว่า การที่จะเลื่อยออกมาให้มัน บาง นั้น ... มันต้อง เสียเนื้อไม้บริเวณที่โดนใบเลื่อยฟัน อยู่ดี

เช่น ถ้าผมมีไม้ชิ้นนึงหนา 30 cm. แล้วอยากจะเอามาเลื่อยเป็นชิ้นๆ ให้หนาซัก 2 mm. ถ้าใบเลื่อยที่ผมใช้หนา 2 mm. เหมือนกัน นั่นแปลว่า ... ผมจะต้องเสียเนื้อไม้ไปประมาณ 50% ถึงจะได้ไม้ขนาดที่ผมต้องการ ... นั่นแปลว่า ถ้าเอาไม้ขนาด 2 mm. ที่ผมเลื่อยได้ กลับมาเรียงๆ กัน ความหนาโดยรวมน่าจะไม่เกิน 20 cm.

อีกอย่างนึงคือ ... ความหนาของไม้ที่เอามาทำ body ของกีต้าร์นั้นก็ไม่น่าจะเกิน 2.5 mm.

ฉะนั้น ที่บอกว่า ประหยัดเนื้อไม้นั้น ... ก็น่าจะประหยัดได้ไม่มาก ... ผมจึงสงสัย และมาถามนี่แหล่ะคับ (คิกๆๆ)

สงสัยจริงหนอ สงสัยจริงหนอ ???

เอารูป pattern การเลื่อยมาฝากค้าบบ
[Image: 67718004276741f2.jpg]
การเลื่อยไม้นั้นต้องเสียเนื้อไม้ให้ครองเลื่อยอยู่แล้วครับ และโดยมากหัวหน้าโต๊ะเลื่อยหรือที่เรียกว่านายม้ามักไม่ค่อยคำนึงถืงการเลื่อยแบบ quarter sawn หรือ แบบแทยงตามในรูปครับ
เพราะเสียเวลาในการวัด การพลิกไม้ครับ มักเลื่อยตามขนาดของไม้ที่ได้รับออร์เดอร์มาหรือใช้ประสบการณ์ในการบอกความหนาความกว้างของไม้ตอนเลื่อย นายม้านี้สำคัญมากเพราะไม้ที่เลื่อยจะมีราคา หรือไม่ก็ขึ้นกับคนนี้แหละครับ เงินเดือนเลยสูงพอสมควรสำหรับคนนี้และหายากสักหน่อย เพราะต้องใช้ประสบการณ์สูง การคิดตัดสินใจต้องเร็ว เพราะเปิดเครื่องเลื่อยโต๊ะใหญ่ดูดไฟมากเลย ทำช้ายิ่งทำให้โรงงานเสียเงินเยอะครับ

แต่เท่าที่ผมทราบการเลื่อยไม้เพื่อมาทำเป็น laminate หรือเป็น veneer นั้น จะไม่ใช้การเลื่อยในลักษณะแบบนี้ครับ
เพราะการเลื่อยในแบบ veneer เราต้องการความสวยของลายไม้ครับ และมักจะทำกับไม้ที่มีราคาสูงเช่นไม้สัก และควรเป็นไม้ที่มีเนื้อไม้ไม่แข็งเกินไปครับ
ดังนั้นการทำ veneer มักไม่ใช้การเลื่อยครับ แต่จะใช้การปอกเหมือนกับการเหลาดินสอครับ คือจะมีใบมีดขนาดยาวที่มีความคมมากเป็นตัวเฉือนเนื้อไม้ที่หมุนเข้ามาตามแนวยาว ทำให้ไม่เสียเนื้อไม้ครับ
ทำให้ได้ไม้ที่มีลายภูเขาที่มีความสวยเป็นแผ่นใหญ่ หลังจากนั้นจึงนำมาตัดแบ่งเหมือนกับตัดกระดาษตามขนาดที่ต้องการเพื่อใช้งานที่แตกต่างกัน เช่นนำไปทำเป็น veneer ประตู คิ้ว และอื่นๆ
ดังนั้นสบายใจได้ครับเครื่องปอก veneer ไม่ทำให้เสียเนื้อไม้มากเลยครับ ความหนาของเครื่องปอก veneer สามารถทำได้บางกว่า 2.5 mm ครับ เพราะถ้าใช้ความหนาเท่านี้รับรองว่าเจ๊งครับ ดังนั้นหายห่วง ถ้าหากตอนนี้มี brazillian rosewood สักหนึ่งต้นใหญ่และสมบูรณ์ แล้วให้ปอก veneer ผมว่าเอามาทำกีต้าร์ได้เป็นพันตัวครับ ในประเทศไทยเราก็มีโรงงานที่ทำ veneer ได้เหมือนกันแต่ไม่มากเท่ากับที่ประเทศ จีน และ มาเลเซียครับ
ลองอ่านกระทู้เก่าดูครับ

http://www.nimitguitar.com/mybb/showthre...t=laminate
กระทู้เก่าที่น้ากฤษณ์ให้มาอันนี้แหละแจ่มแล้ว
โอววว ... กระทู้เดิม อ่านสนุกสนานมากมายครับ

ขอบคุณน้าปู๊ด และน้าหม่าว และน้าๆ ที่เข้ามาตอบคับผม : )